“เฟดจะลดดอกเบี้ย เงินร้อนไหลป่วนทั่วโลก บาทไทยแข็ง เศรษฐกิจตก”

... ทรัมป์เคยวิจารณ์เฟด ในปี 2018 ว่าออกนโยบายขึ้นดอกเบี้ยสูงเป็นการสวนทางกับเขา ที่ต้องการสร้างธุรกิจ และงานในอเมริกา และตามมาด้วยการบอกว่าสมัยโอบาม่านั้นดอกเบี้ยต่ำเกือบติดศูนย์ทำให้เงินไหลสะพัด ผิดกับสมัยของเขา

... แต่หลังจากที่ “อเมริกาทำสงครามการค้ากับจีน” มาได้หลายเดือน ปรากฏว่าตลาดหุ้น ของอเมริกาตกหนัก โดยเฉพาะเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา เช่นสินค้าที่ต้องเป็นผู้ผลิตให้ หรือ ค้าขายกับจีน ที่กระทบโดยตรงผ่านการขึ้นภาษีการค้าจากสงครามนั้น ประกอบกับที่เฟดขึ้นดอกเบี้ยสูงมาตลอดปีหลัง ทำให้ไม่มีใครกล้ากู้เงินไปลงทุนในตลาดอีก ลงทุนไปก็อาจจะเสี่ยงค้าขายไม่ได้ ทำให้มีการคาดการณ์ว่า ในการประชุมของเฟดในวันที่ 30 และ 31 เดือนกรกฎาคม 2019 นี้ เฟดต้องเปลี่ยนนโยบายแบบ 180 องศา ในปีนี้อีกครั้ง โดยการจะลดดอกเบี้ยลง ทำให้ทรัมป์ดีใจขึ้น

... แถมทรัมป์ยังอ้างตัวเลขว่าเกิดการสร้างงานมากขึ้น โดยสังเกตจากบัญชีเดือนเดือนของอเมริกามากขึ้น 224,000 ตำแหน่ง มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 160,000 ในเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา จึงต้องการเงินมาลุงทุนมากขึ้น

... ขณะที่อีกฝากบ้านเรา “เงินบาท” กำลังแข็งและก็กำลังถูกอเมริกาจับตามองอย่างใกล้ชิด ที่อาจจะมองว่าเรามีนโยบายทางการเงินที่ไม่เป็นธรรมในการแก้ปัญหาหรือไม่ ส่วนเราเองก็กลัวว่าจะโดนเงินร้อนจากต่างชาติมาโจมตี และเงินที่ค่าสูงขึ้นก็จะส่งผลกับการส่งออกของไทยได้

... โดย “ธนาคารชาติของไทย” ที่กำลังเครียดลงกระเพาะที่ถูกมหาอำนาจจับตามอง อาจจะทำได้แค่ลดดอกเบี้ยลง เพื่อเป็นการลดการเข้ามาซื้อของต่างชาติจากดอกเบี้ยที่สูง ที่ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเงินที่กำลังจะไหลอกจากอเมริกาในปลายเดือนกรกฎาคมนี้ ที่มีข่าวว่าเฟดจะลดดอกเบี้ยลง เงินจะสะพัดมากขึ้นไปทั่วโลก นักลงทุนจะกู้เงินร้อนจากอเมริกาไปหว่านและโจมตีทั่วโลกอีกครั้ง

… ปี 2018 ที่ผ่านมา เงินบาทของไทยมีค่าสูงขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลล่าร์ 8.3% มากกว่าทุกสกุลเงินในโลกเมื่อเทียบกับดอลล่าร์ เพราะทั่วโลกมองว่าไทย เป็น “หลุมหลบภัยทางการเงิน” ที่ดีของโลก และกำลังจะเป็นประวัติศาสตร์ใหม่ ที่มีดุลบัญชีเดินสะพัดสูงที่สุด

... ทำให้ธนาคารชาติของไทยต้องออกมาตราการ จับตาบัญชีของชาวต่างชาติในไทยอย่างมาก เพราะเกรงว่าจะมาแทรกแซงการเงินในไทย แต่เชื่อว่าจะไม่ออกมาตรการ “ควบคุมการไหลเข้าออกทางการเงิน” หรือ Capital Control ที่ปู่มหาเดร์ของมาเลเซีย เคยทำเมื่อตอน ปี 2540 ที่เกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง แบบไม่เกรงใจมหาอำนาจต่างชาติ ( เพราะทำแบบนี้ อเมริกาจับตา จะเล่นงานเราอยู่ )

... นักวิเคราะห์มองว่า ขณะที่เงินร้อนจากต่างชาติ ที่กำลังจะไหลมาจากเฟดลดอัตราดอกเบี้ย จะมาป่วน “ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน” ในไทยก็คงไม่ง่ายเหมือนเมื่อก่อน ( แต่ก็ไม่ได้เลย ถ้าเราไม่ควบคุมเงินเข้าออก แบบปี 2540 )

... ด้วยความเกรงใจมหาอำนาจ เผด็จการทางการเงินโลก ทำให้ตอนนี้ ธนาคารชาติของไทย ทำได้แค่เตือนและกำชับ ธนาคารพาณิชย์เอกชนต่างๆ ให้เข้มงวดในการถ่ายโอนเงินให้กับบัญชีของชาวต่างๆชาติที่เข้าออกในประเทศไทยเท่านั้น

... จากการที่ “สงครามการค้าอเมริกากับจีน” ที่ทำให้เกิดการชะลอตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก รวมทั้งค่าเงินบาทที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่องที่กระทบกับการส่งออกสินค้า ทำให้ตอนนี้ประเทศไทยได้ลดเป้าหมายอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจปีนี้ลดลง ซึ่งจะกระทบกับการทำมาหากินของคนไทยในประเทศบ้างตามสัดส่วนและแต่ละธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก

… Thailand’s central bank is fretting over how to cool the world-beating surge in the baht just as the U.S. keeps a watchful eye out for signs of unfair currency policies.
Bank of Thailand officials intensified verbal intervention in the past week, with Senior Director Don Nakornthab saying Wednesday the “worried” monetary authority is mulling how the baht can be restrained. He also flagged the possibility of an interest-rate cut.

คลิก

คลิก

Cr.Jeerachart Jongsomchai

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"