จากเครือข่ายการสื่อสารของตน ทำคล้ายๆรัฐบาลปธน.บุช เมื่อตอนหลังเหตุการณ์ 9/11 ที่เคยแจ้งต่อพันธมิตรว่า "ถ้าไม่ร่วมกับเรา ก็ถือว่าเป็นศัตรูกับเรา"แต่ที่ไม่เหมือนซะทีเดียว คือมีน้อยประเทศมากที่เข้าร่วมด้วย เพราะครั้งนั้นเป็นการร่วมกันต่อต้านภัยการก่อการร้าย
แต่ครั้งนี้เป็นการต่อต้านการค้ากับจีน
ยิ่งพอไปพิจารณาดู สินค้าและบริการของหัวเหว่ยราคาไม่แพง คุณภาพดีต่างกับของคู่แข่งไม่ว่าของอเมริกันหรืออื่นๆ ....แต่ละประเทศก็อยากจะสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางโทรคมนาคมของตนเพื่อรองรับเทคโนฯ 5G กันทั้งนั้น
ถึงอย่างนั้น สหรัฐก็ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ มีการขู่ที่จะไม่แชร์ข้อมูลข่าวกรองกับประเทศที่ยังมีการทำธุรกรรมกับหัวเหว่ย โดยอ้างว่านั่นจะเป็นการทำให้ข่าวรั่วสู่จีนไปด้วย
นับเป็นการยื่นคำขาดที่แปลกมาก เพราะสหรัฐอ้างว่า สหรัฐจะอยู่เฉยและปล่อยให้ผู้ก่อการร้ายโจมตีพันธมิตรที่ไม่ร่วมมือกับสหรัฐ เป็นการลงโทษ ...ซึ่งนอกจากเป็นการไร้มารยาท ยังเป็นการขัดกับหลักการที่ได้สร้างไว้ตั้งแต่รัฐบาลบุช ออกคำขาดหลังเหตุการณ์ 9/11
Washington Had the Wrong Approach to US-China Trade Talks from the Start
การเดิมพันด้วยความเป็นอยู่ของประชาชนชาติอื่นๆ โดยที่รัฐบาลชาติอื่นเขาไม่เล่นด้วย กลายมาเป็นแท้กติกโง่ๆที่ ปธน.ทรัมพ์ยกมาเป็นยุทธศาสตร์เพื่อให้พันธมิตรอื่นๆยอมให้ตน
ประเทศยุโรปส่วนใหญ่ยังคงเดินหน้าในการร่วมแผนกับหัวเหว่ย พร้อมๆไปกับการร่วมมือระหว่างกันทางทหาร Permanent Structured Cooperation (PESCO) ซึ่งวอชิงตันก็แสดงความข้องใจในเรื่องนี้ออกมาเมื่อเร็วๆนี้
ที่จริงก็พอจะพูดได้ว่า สหรัฐยิ่งเพิ่มแรงกดดันต่อพันธมิตรยุโรปโดยใช้แท้กติกที่ว่ามากเท่าไหร่ พวกนี้ก็จะรวมตัวกันโต้กลับคืนด้วยแรงเท่านั้น
และนั่นก็ไม่ใช่ปฏิกิริยาการโต้คืนแบบตาบอด แต่นโยบายของกลุ่มประเทศส่วนใหญ่เหล่านี้ได้สร้างเงื่อนไขระหว่างประเทศ ที่นางเมอร์เคล แห่งเยอรมันในฐานะผู้นำกลุ่มของ EU ประกาศว่า "กฎระเบียบที่กำหนดไว้เมื่อหลังสงครามโลก ไม่อาจเอามาบังคับใช้ได้อีกต่อไปแล้ว" และ "ยุโรปต้องวางตัวเองให้เหมาะกับโลกที่เปลี่ยนไป"
ยุโรปเคลื่อนตัวสู่เส้นทางใหม่..ก่อนที่สหรัฐจะเริ่มกดดันด้วย campaign การต่อต้านจีนเสียอีก ....วิธีการแบล้คเมล์ที่ทรัมพ์เอามาใช้มีแต่จะไปเร่งยุโรปให้เคลื่อนไปเร็วขึ้น ...และดูเหมือนมันจะถ่างให้เส้นแบ่ง transatlantic divide ให้ห่างออกไปในเรื่องอื่นๆอีกด้วย
ยุทธการ trade war ของสหรัฐไม่ได้แค่มีไว้ใช้กับจีนเท่านั้น แต่กับ EU อีกด้วย ..นี่ทำให้การเจรจา Transatlantic Trade and Investment Partnership (TTIP) ถูกแช่แข็งไปเลย
ในการตอบโต้กับนโยบายกีดกันทางการค้าของสหรัฐ กลุ่ม EU ได้มองไปที่จีนว่าเป็นทายาทใหม่ของ globalization และเพิ่มความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างกันแทนที่สหรัฐ โดยมีบางประเทศสมาชิกในกลุ่ม G7 เช่นอิตาลี เข้าร่วมในโครงการ Belt & Road Initiative แล้วเมื่อเร็วๆนี้
ดูเหมือนสหรัฐจะลืมไปว่า "มีกิริยา ก็ย่อมมีปฏิกิริยาตรงกันข้ามในอัตราที่เท่ากัน" นโยบายกดดันพันธมิตรของตนเพื่อให้แยกออกจากจีน ดูเหมือนจะกำลัง backfire...
This article was originally published on CGTN.
Andrew Korybko is an American Moscow-based political analyst specializing in the relationship between the US strategy in Afro-Eurasia, China’s One Belt One Road global vision of New Silk Road connectivity, and Hybrid Warfare. He is a frequent contributor to Global Research.
Cr.Sayan Rujiramora
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
#forex #ลงทุน #pepperstone #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you