บริหารเงิน $120,000 ล้านจนติดอันดับต้นๆ เทียบได้กับนักลงทุนชั้นนำในประวัติศาสตร์ จึงไม่น่าแปลกใจที่ Marks เป็นกังวลอย่างมากต่อกระแสที่กำลังมาแรงของการต่อต้านทุนนิยม ..เขาเขียนบันทึกช่วยจำที่โด่งดังเกี่ยวกับเทรนด์ทางการเมืองเรื่องนี้
ในสายตาของพวกต่อต้านทุนนิยม ....คนร่ำรวย..บริษัทขนาดยักษ์..และกองทุนหุ้น คือปีศาจร้าย ..
เหมือนอย่างที่มหานครนิวยอร์คผลักดันให้ Amazon ต้องยกเลิกการขยายธุรกิจขนาดหลายพันล้านดอลล่าร์มาแล้ว ..การต่อต้านทุนนิยมเหล่านี้ไม่ได้เป็นไปตามเหตุและผลเลย มันไม่ได้เป็นหัวข้อทางการเมืองอีกต่อไปแล้ว ..มันเป็นการปลุกปั่นสงครามศักดิ์สิทธิ์เท่านั้น ..เป็นจิฮาดที่ต่อต้านความร่ำรวย
อย่างที่ Howard Marks เขียนไว้ใน memo ล่าสุดของเขาน่ะแหละ การคลั่งการต่อต้านทุนนิยมมันลามไปรวดเร็วมากเพราะมีผู้ที่คิดว่าตนเองถูกทอดทิ้งในประเทศนี้มากเหลือเกิน
ตลาดหุ้นมันบูมขึ้นมากในรอบสิบปีที่ผ่านมา.. ทำให้พวกคนชั้นกลางค่อนข้างสูงและพวกที่ร่ำรวยอยู่แล้ว เพิ่มความมั่งคั่งขึ้นอีก ....พวกระดับคนทำงานทั่วๆไป ที่ไม่ได้ลงทุนในตลาดหุ้น ต้องประสบกับค่าแรงที่หยุดนิ่ง..ตามไม่ทันกับเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น
เกือบ 30% ของตำแหน่งงานในอเมริกาซึ่งเป็นของคนทำงานเหล่านั้น มาบัดนี้รัฐบาลต้องการให้มีใบอนุญาติสำหรับทำงาน..ที่ต้องเสียทั้งเวลาและเงินจำนวนมากเพื่อขอใบอนุญาตินั้น
ในขณะที่การเติบโตทางเศรษฐกิจก็ค่อยๆคืบคลานช้าๆ
นอกจากนี้ Automation และโลกาภิวัฒน์ก็ค่อยๆกำจัดตำแหน่งงานระดับนี้ไปเรื่อยๆ ..ซึ่งในไม่ช้า คนเหล่านี้ก็ต้องหมดสิ้นอาชีพไปเลยในที่สุด
ทั้งหมดนี้มันก็เป็นเรื่องของสังคมของพวก haves กับ have-nots แท้ๆเลย ..มันจะกลายเป็นระบบชั้นวรรณะแบบอินเดียไปแล้ว : ถ้าคุณเกิดมาในวรรณะต่ำ คุณก็ต้องตายไปพร้อมกับวรรณะต่ำของคุณ ...โอกาสของการเติบโตในสังคมนี้มันหดหายไปทุกที
ถ้าคุณเป็นคนทำงานในระดับนี้และพยายามที่จะเก็บเงินออม คุณไม่สามารถที่จะให้เงินออมของคุณออกดอกออกผลได้เลยจากการฝากเงิน (หลังหักภาษีและปรับเข้ากับเงินเฟ้อ)
แต่ถ้าคุณคิดจะสร้างธุรกิจของคุณเอง คุณก็ต้องเผชิญกับกฏระเบียบมากมายจากรัฐ ค่าธรรมเนียมและภาษี (เด็กตั้งซุ้มขายน้ำมะนาวยังเจอมาแล้ว..ผู้แปล)
เรื่องทั้งหมดนี้มันนำไปสู่ความโกรธแค้น ..ผู้คนพากันคิดว่าถูกระบบนี้ screwed เอาเข้าแล้ว
แล้วแทนที่รัฐบาลจะหาวิธีที่ฉลาดซักหน่อยมาแก้ปัญหา กลับปรับตัวเปลี่ยนสีเข้ากับสังคมนิยม..โจมตีฝ่ายที่ร่ำรวยกว่าไปเลย
ดูที่เรื่องของประกันสังคมเป็นตัวอย่าง มีทางแก้ปัญหาสองอย่างที่พอเป็นไปได้
หนึ่ง- ยกเลิกคำสัญญาที่เคยให้กับทุกๆคน ตัดเรื่องของสิทธิประโยชน์บางอย่าง ..เพิ่มอายุเกษียร etc.
สอง- ขึ้นภาษี
ทางเลือกที่หนึ่งเป็นการฆ่าตัวตายทางการเมืองที่แท้จริง ..ทางเลือกที่สองน่าจะง่ายกว่ามาก ถ้าคุณสามารถงัดเอาเงินภาษีออกจากพวกร่ำรวยเหล่านั้นได้
แต่สิ่งที่พวกโซเชียลลิสต์คิดจะทำคือ ไม่เพียงแค่จับพวกคนระดับสูงและคนชั้นกลางค่อนสูงมาเขย่าเอาภาษีถึง 70%-80% เท่านั้น ...แต่ยังไม่ให้เกียรติ์โดยการกล่าวร้ายเสียดสีคนเหล่านั้นอีกด้วย
ในยุคโรมันโบราณ คนรวยถูกเรียกเก็บภาษีหนักมาก และต้องจ่ายรายจ่ายส่วนกลางที่มากกว่าคนอื่นๆ ....แต่พวกเขาได้รับเกียรติ์มากกว่า..ได้รับการชื่นชมว่าเป็นผู้เสียสละมากกว่าให้กับสาธารณรัฐ
กลายเป็นว่าพวกโซเชียลลิสต์ต้องการเงินของคุณ และ เกียรติภูมิของคุณ จนดูเหมือนว่าอยากจะได้ไม่รู้จักพอในทุกอย่างที่เป็นของคุณ
ในทุกกริยา ก็มีปฏิกริยา ...ทุกคนมีลิมิตของตน ...บีบให้สุดๆไปเลย แล้วเขาก็จะเผ่นไปเอง
นั่นคือสิ่งที่พวกนี้ลืมมองไป นี่เป็นศตวรรษที่ 21 ผู้คนและเงินทุนมี mobility ที่เคลื่อนไหวไปที่อื่นได้
สิ่งที่เราได้เห็นอยู่แล้วคือ คนร่ำรวยพากันอพยพออกจากรัฐที่เก็บภาษีสูงไปรัฐอื่นๆเช่น เท้กซัสหรือฟลอริด้า ที่ไม่มีการเก็บภาษีเงินได้ของรัฐ เทรนด์นี้กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
และมันยังเห็นได้ชัดว่า ผู้คนยังสามารถย้ายถิ่นไปที่เปอร์โตริโกได้ ทำให้เลี่ยงจากการจ่ายภาษีเงินได้ให้แก่รัฐบาลกลางสหรัฐได้อีกด้วย
เปอร์โตริโกมีโปรแกรมจูงใจด้านภาษี ที่จ่ายภาษีธุรกิจแค่ 4% และไม่มีภาษีรายได้จากการลงทุน
รัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาเศรษฐกิจบอกว่า จำนวนผู้ยื่นขอจากโปรแกรมจูงใจนี้เพิ่มมากขึ้นหลายเท่าตัวในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ดูเหมือนเทรนด์นี้ก็ยังเพิ่มไปเรื่อยๆ
John Paulson เจ้าของกองทุน hedge fund อีกรายหนึ่ง ก็บอกว่ากำลังวางแผนจะย้ายไปเปอร์โตริโก
แต่โซเชียลลิสต์ก็ยินดี พวกเขาคิดว่านั่นคือชัยชนะที่สามารถไล่คนเหล่านี้พร้อมกับธุรกิจของพวกเขาออกไปเสียได้
พวกเขาไม่สนใจในวิธีการแก้ปัญหาแบบ win/win ที่เอื้อประโยชน์กันทุกฝ่าย
Marks ยังเขียนเพิ่มใน memo อีกว่า ..."พวกฝ่ายซ้ายหัวรุนแรงคิดว่ารัฐบาลสามารถทำได้ดีกว่าตลาดเสรีในการเพิ่มการอยู่ดีกินดีของประชาชน
"ทุนนิยมเป็นระบบเศรษฐกิจที่ไม่มีความสมบูรณ์แบบในตัว เพราะมันมีความต่างกันของความสำเร็จของงานอาชีพ เป็นความเหลื่อมล้ำที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างผู้ประสบความสำเร็จและผู้ไม่ประสบ..
"แต่ด้วยความที่ผมเป็นผู้ที่ทำกำไรจากทุนนิยม ดังนั้นความเห็นของผมก็อาจไม่ต้องรับฟัง..จากการที่มันอาจจะลำเอียงไปบ้าง
"อย่างไรก็ตาม ผมก็ยังเชื่อ 100% ว่าระบบทุนนิยมได้สร้างผลได้ในสังคม ..มีความก้าวหน้าที่เด่นชัดในการพัฒนา ..และมีชีวิตที่ดีกว่า
ผมเชื่อว่าระบบเศรษฐกิจทุนนิยม เป็นระบบที่เลวมาก ..เพียงแต่ว่ายังไม่มีระบบที่ดีกว่านั่นเอง"
Cr.Sayan Rujiramora
สนับสนุนข่าวโดย ICMarkets
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/