“อาหรับสปริง บาห์เรน ฮาคีม​ ออสเตรเลียต่ำช้าบัดซบ และดราม่าแบบผิวเผิน” #SaveThailand

... “อาหรับสปริงกำมะลอ” ในปี 2011 ในสายตาของสำนักข่าวจาก “รัสเซีย” นั้นมองว่าเป็นแค่ “การจัดระเบียบโลกอาหรับใหม่หลังสงครามเย็น” ของ “อเมริกา” แค่นั้นเอง เพราะว่าต้องพยายามจัดระเบียบผู้นำที่ไม่เดินตามก้นก็ต้องจุดไฟประท้วงหลอกใช้ประชาชน

ในนั้นที่เดือดร้อนจริงออกมาประท้วงผู้นำเขาเอง คนไหนที่ไม่เดินตามอเมริกา

... ในปี 2011- 2014 นั้น ที่”บาห์เรน” , ประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของ “อังกฤษ” มานานที่เพิ่งได้เอกราชเมื่อปี 1971, ก็เป็นหนึ่งในสมรภูมิที่เกิดการประท้วงเพื่อกดดันผู้นำของประเทศตามกระแส “อาหรับสปริงกำมะลอ” นั้นด้วย โดยฝ่ายที่ต่อต้านรัฐบาลนั้น ผู้นำต่อต้านนำมักเป็นคนใน “นิกายชีอะห์” ขณะที่ผู้นำรัฐบาลประเทศเป็น “นิกายซุนหนี่” คือมีทั้งสองมิติทั้งความกดดันเดือดร้อนทางการเมืองเศรษฐกิจ และ ความขัดแย้งศาสนาต่างนิกายด้วย

... ประเทศบาห์เรนนี้เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านแล้วถือว่าจน เพราะน้ำมันก็ไม่ได้มากมายและมีแต่จะเหือดแห้งลงเรื่อยๆร้อยละ 11 ของประชาชนจึงยังมีปัญหากับความยากจนอยู่

... แต่ประเทศนี้มีดีมากอย่างหนึ่ง “ภูมิประเทศที่เป็นเกาะในทะเล” จึงเป็นที่ตั้งของ “กองทัพเรือที่5” ของ “อเมริกา” ที่ต้องการมีเอาไว้จ่อหลังบ้านของ “อิหร่าน” เพราะตอนปี 1970 ก่อนที่ได้เอกราชปีเดียว ยูเอ็นองค์กรลูกของอเมริกาเคยมาสำรวจและพบว่า “อิหร่าน” มองว่า “บาห์เรน” เป็นจังหวัดหนึ่งในประวัติศาสตร์ของประเทศ แต่บาห์เรนต้องการเอกราช ยูเอ็นจึงรีบเอากองเรืออเมริกาไปตั้งไว้แต่เนิ่นๆ กันอิหร่านเขมือบ

... ซึ่งเหตุการณ์ในช่วงอาหรับสปริงนั้นทำให้ตอกย้ำในระหว่างปี 1975 – 2001 ที่บาห์เรนเองก็มีปัญหาเรื่องที่กลุ่มสิทธิมนุษยชนกำมะลอเหล่านั้นอ้างว่าละเมิดมาตลอด ทำให้มีการพยายามเข้าไปแทรกแซงและให้ความช่วยเหลือพวกนักเคลื่อนไหวในหลายประเทศรวมทั้งบาห์เรน หลายประเทศเข้ามารับพวกนี้ลี้ภัยในประเทศตัวเอง หนึ่งในนั้นก็คือ “นายฮาคีม”

... โดยตอนนั้น 2011-2014 ใน “บาห์เรน” ผู้ประท้วงมีวัตถุประสงค์สองอย่าง คือ อิสรภาพทางการเมืองและความเท่าเทียมกันของสองนิกายที่ตอนนั้นนิกานชีอะห์มีน้อยกว่าซุนหนี่ ( ในคาบสมุทรอาระเบียนั้นนิกายซุนหนี่จะเป็นผู้ปกครองเสียส่วนใหญ่ ยกเว้นที่เยเมนหลังจากกลุ่มฮูติปกครองก็เป็นชีอะห์ ที่ซาอุดิอาระเบียรับไม่ได้ จึงส่งทหารไปถล่มเยเมนแบบผิดกฎหมาย จนถึงวันนี้ )

... แต่หลังจากนั้นก็ลามปามไปเป็นต้องการ “ล้มเจ้า” ของกษัตริย์ Hamad bin Isa Al Khalifa ที่เป็นกษัตริย์องค์แรกของบาห์เรน ที่ปกครองประเทศมาตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ปี 2002 แต่แม้ว่าก่อนหน้านั้นพระบิดาของท่านและตระกูลจะปกครองบาห์เรนมานานแต่ก็เป็นเพียง “อามีน” หรือผู้นำประเทศตามหลักของอาหรับไม่ใช่กษัตริย์ ( คล้ายๆที่ซาอุดิอาระเบียก็เปลี่ยนจากตระกูลซาอุดมาเป็นระบอบกษัตริย์ ที่ผิดหลักการของอิสลามดั้งเดิม ที่เป็นระบบกาหลิบหรือเคาะลิฟะห์ ที่มีมาได้แค่ 4 ท่านก่อนจะแตกแยกกันในสงครามซิฟฟิน ) โดยสายราชวงศ์ Al Khalifa นี้ปกครองบาห์เรนมาตั้งแต่ปี 1783

... ในการประท้วงนั้น จะมีศูนย์รวมกันที่ วงเวียน​ Pearl กลางเมืองหลวงมานามา “บาห์เรน” ประเทศเล็กๆ จึงต้องขอกำลังทหารเสริมจากหน่วย​ GCC คล้ายๆนาโต้ของประเทศในคาบสมุทรอาระเบีย ที่เอาทหารมารวมกันเพื่อจะส่งเข้าไปแทรกแซงช่วยเหลือกันปราบปรามในยามจำเป็น ที่เรียกว่า ทหารหน่วย GCC, Gulf Cooperation Council ที่เริ่มก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1984 มีทหารเริ่มต้นที่ 10,000 คน

... 14 เดือนมีนาคม 2011 ทหารซาอุดิอาระเบีย 1,000 นาย และ จากยูเออีอีก 500 นายก็ได้เดินทางเข้ามารักษาความสงบในบาห์เรน กษัตริย์ฮามันของบาห์เรนได้ประกาศกฎอัยการศึกสามเดือน ระหว่างนั้นมีการกวาดล้างผู้ประท้วงที่ส่วนใหญ่เป็นชาวชีอะห์​ มีการจับกุมผู้ประท้วงหลายหมื่น แต่ก็มีการชุมนุมมาต่อเนื่องไม่จบ จนถึงเดือนเมษายน 2012 มีผู้เสียชีวิตจากการประท้วงไป 80 คน ถูกจับกุมอีกเกือบ 3,000 คน

... ตำรวจได้ใช้กำลังกวาดล้างแบบโหดเหี้ยมกับผู้ประท้วงที่สงบสันติปราศจากอาวุธ ยามวิกาลค่ำคืนตำรวจได้เข้าไปกวาดล้างในเขตชาวบ้านนิกายชีอะห์ มีการทรมานผู้ประท้วงแบบเป็นระบบและถูกอ้างว่าผิดกฎของพวกฮิวแมนไรท์วอทช์ ที่มีพวกตะวันตกเป็นคนบงการอีกที ( องค์กรนี้ เป็นเหมือนนักบวชของสมัยล่าอาณานิคม ทั้งฝรั่งเศสและอังกฤษ ใช้พวกจราชนสายลับแอบไปแทรกซึมในคนกลุ่มนี้ )

... นายฮาคีม หรือ Hakeem al-Araibi เกิดเมื่อ 7 พฤศจิกายน 1993 , คือนักฟุตบอลบาห์เรน เขาเป็นหนึ่งในผู้ประท้วงรัฐบาลในช่วงปี 2011 – 2014 หรือ “อาหรับสปริงกำมะลอ” นั้น ที่หนีไปแวะหลายประเทศ​ สุดท้ายถึง​ "ออสเตรเลีย" ในปี 2014 และได้รับสถานะผู้ลี้ภัยอย่างเป็นทางการในปี​ ​2017

... ย้อนไปเมื่อ ปี 2012 ในวันเกิดปีที่ 19 ของเขาเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2012 ขณะที่เดินไปที่ร้านกาแฟในบาห์เรนเพื่อดูเกมฟุตบอลสเปนระหว่าง เรอัลมาดริด – บาร์เซโลนา เขาก็ถูกกองกำลังรักษาความปลอดภัยของบาห์เรนจับกุมไป พวกเขากล่าวหาว่าเขาทำลายทรัพย์สินของสถานีตำรวจเมื่อสี่วันก่อนตามคำสารภาพของพี่ชายของเขาหรือ Emad ผู้ซึ่งถูกอ้างว่าได้บอกพวกตำรวจว่า Hakeem เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มผู้ประท้วงที่วางเพลิงจากระเบิดน้ำมัน กับสถานีตำรวจแห่งหนึ่งด้วย

... แต่วันรุ่งขึ้น Hakeem Al-Araibi บอกกับอัยการว่าเขากำลังเล่นในการแข่งขันฟุตบอลรายการหนึ่งที่ถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์อยู่ เมื่อการโจมตีเผาสถานีตำรวจเกิดขึ้น ( แปลว่าบอกว่า เขาไม่ได้ร่วมวางเพลิงสถานีตำรวจ ) และปฏิเสธข้อกล่าวหา แต่การกักขังของเขายังขยายออกไปเป็นเวลา 45 วันในระหว่างการกักขังนั้นเขากล่าวว่ากองกำลังความมั่นคงพยายามที่จะทรมานเพื่อบีบเอาคำสารภาพจากเขา เขาบอกกับนักข่าวชาวเยอรมันว่า "พวกเขาใช้เวลาสามชั่วโมงทุบตีผมอย่างหนักที่ขา โดยบอกว่าเขาจะทำลายกระดูกของผม เขาจะทำลายอนาคตของผม จะไม่สามารถเล่นฟุตบอลได้อีกครั้งด้วยขาพวกนี้" จากนั้นเขาได้รับการปล่อยตัวประกันตัว แต่เขาก็ถูกตัดสินตำคุก 10 ปี ขณะที่กลุ่มนิรโทษสากล ( อีกหนึ่งบริษัทลูกของมหาอำนาจ ) ก็บอกว่าเป็นการตัดสินที่ไม่ยุติธรรม

... เวลาของการโจมตีสถานีตำรวจเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ข้อกล่าวหาของ Hakeem Al-Arabi พี่ชายของเขากล่าวว่าการโจมตีเผา สน. เกิดขึ้นเวลา 18:30 น. แต่ Hakeem กำลังเล่นในเกมถ่ายทอดสดสำหรับสโมสรของเขา Al-Shabab ที่สนามกีฬา Al-Muharraq จาก 17.30 น. ถึง 19.20 น. โดยสมาคมฟุตบอลบาห์เรนสมาคมอัลชาบับ และผู้เล่นเพื่อนก็ช่วยยืนยันสิ่งนี้ วิดีโอจากเกมที่ออกอากาศโดย Bahrain Sports Channel 1 ที่แสดงการเล่น al-Araibi ก็ถูกส่งมาเช่นกัน อย่างไรก็ตามการฟ้องร้องของฝ่ายอัยการบอกว่ากลุ่มคนมาชุมนุมกันก่อนหน้านี้และการโจมตีเผาจริงเกิดขึ้นในเวลา 20.00 น. และ Hakeem ก็จะมีเวลาเพียงพอที่จะออกจากสนามกีฬาหลังแข่งและเข้าร่วมในการเผาสถานีตำรวจในครั้งนี้

... สิ่งที่ยิ่งตอกย้ำความเจ็บแสบให้กับทางการ “บาห์เรน” ก็คือ ในปี 2016 เขาได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อนานาชาติใน “ออสเตรเลีย” ว่า “เชค ซาลมานบินอิบราฮิม อัลคาลิฟา” สมาชิกราชวงศ์บาห์เรน ควรจะถูกสอบสวนถึงความเกี่ยวข้อง จากที่ถูกอ้างว่า เชคอาจจะเกี่ยวข้องกับการทรมานผู้ประท้วงรวมทั้งนักกีฬาและชาวมุลลิมชีอะห์ ที่ร่วมประท้วง “ต่อต้านราชวงศ์ในบาห์เรน” ในช่วงการจลาจล และการให้สัมภาษณ์ของเขา อยู่ในปีที่มีการแข่งขันชิงตำแหน่ง “ประธานฟีฟ่า” ด้วย ทำให้เชคแพ้ตำแหน่งไป และตำแหน่งตกเป็นของ Gianni Infantino , ที่ตอนนั้นเชคซาลมานบินอิบราฮิม กำลังสมัครแข่งขันเพื่อชิงตำแหน่ง “ประธานฟีฟ่า” ประมุขสูงสุดของฟุตบอลของโลกหลังสมัยเซปแบรตเตอร์อดีตจักรพรรดิชาวสวิส ( อเมริกาพยายามจะเข้ามาบัญชาการองค์กรนี้เอง )

... ในระหว่างที่อยู่ระหว่างการปล่อยประกันตัว ในปี 2013 เขาได้ไปเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลที่ “กาต้าร์” และถือโอกาสนี้หลบหนีไป “อิหร่าน” ต่อด้วย มาเลเซีย “ไทย” ที่ไทยนี้เขาได้พักอยู่ถึง 6 เดือน และสุดท้ายขอลี้ภัยได้ที่ “ออสเตรเลีย” ในเดือนพฤษภาคมปี 2014 เขาได้เป็นผู้ลี้ภัยอย่างเป็นทางการในปี 2017 ในเมลเบิร์น และเขาได้เล่นฟุตบอลตำแหน่งกองหลังอยู่หลายทีมล่าสุดคือสโมสร Pascoe Vale FC

... 27 พฤศจิกายน 2018 “ฮาคีมและภรรยา” ของเขาบินไปประเทศไทยเพื่อดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์ ( มาทำไม คงคิดถึงไทย เพราะอยู่นาน ) แต่ทั้งคู่ถูกควบคุมตัวเมื่อเดินทางมาถึงสนามบินสุวรรณภูมิของกรุงเทพฯ ตามคำร้องขอของทางการ “บาห์เรน และออสเตรเลีย” ตามหมายแดงของตำรวจสากล โดยทางการไทยบอกว่าได้รับแจ้ง “หมายแดง”จับจากตำรวจ “ออสเตรเลีย” AFP หรือ Australian Federal Police ก่อนการแจ้ง “หมายแดง” จากบาห์เรนด้วยซ้ำ แต่ AFP กลับลืม เพราะไม่ได้แจ้งสถานะกับไทยว่าเขาได้เป็นผู้ลี้ภัยถาวรกับออสเตรเลียอย่างเป็นทางการแล้วในปี 2017 ซึ่งแปลว่า “หมายแดง” หมดความหมายไปแล้วสำหรับออสเตรเลีย​ แล้วมาบอกไทยให้จับทำไม?

... ฮาคีมเองก็เป็นหมาก​ "นกต่อ" ของออสซี่​ ก่อนมาไทยเขาก็ถามว่ามาได้ไหม​ ออสเตรเลียบอกเขาเองว่ามาได้​ แถมตม.ก็ให้ออกนอกประเทศที่สนามบินได้ แปลว่า​ "ออสเตรเลีย" ตั้งใจปล่อยเขามาเพื่อจะมาให้ไทยจับ​ และ "เพื่อให้ไทยติดกับดักงับเหยื่อนกต่อฮาคีม" คนนี้

... ( มีคำถามว่า ทางการ “ออสเตรเลียเอง” ที่บอกหมายแดงให้ทางการไทยจับฮาคีมก่อนบาห์เรนนั้น ปล่อยเขาออกจากประเทศได้อย่างไร หน่วยงานที่ให้วีซ่าผู้ลี้ภัยกับเขา ทำไมไม่แจ้งให้ AFP และตำรวจสากลของออสเตรเลียทราบ ทำไมไม่ประสานแจ้งกันเอง​กรณีที่​ 1) ถ้าออสเตรเลียทำงานประสานกันดี ป่านนี้เขาอาจจะไม่ได้ออกจากประเทศออสเตรเลียเพราะถูกจับก่อน​ตาม​ "หมายแดง" หรือ​กรณีที่ 2) ยกเลิก​"หมายแดง" เพราะออสเตรเลียจะไม่จับเขา​ เพราะได้สถานะผู้ลี้ภัยในออสเตรเลียแล้ว​ กรณีนี้ประเทศเดียวที่จะออกหมายแดงจับเขาได้ก็คือ​"บาห์เรน" ... แต่ทั้งหมดมาจากออสเตรเลียทำงานห่วย​ มาแจ้งให้ไทยจับตามหมายแดงก่อนบาห์เรนเลย​ จึงมาสร้างปัญหาให้ไทยตอนนี้ ... หรือตั้งใจจะส่งมาป่วนไทยหรือไม่ ไม่อยากให้ไทยจัดการประชุม อเมริกากับเกาหลีเหนือหรือไม่ ตอนนี้เวียตนามได้จัดไปแล้ว หรือทำลายชื่อเสียงของรัฐบาลปัจจุบัน หรือมากกว่านั้น ก่อนพิธีใหญ่ของไทย )

... หลังจาก 27 พฤศจิกายน 2018 ที่ทางการไทยจับกุมเขาและเมียแล้ว ทางตำรวจสากลสาขา “ออสเตรเลีย” เพิ่งจะถอนแจ้ง “หมายจับแดง” กับไทยทีหลัง ( ความผิดของคุณแท้ๆ พวกลูกหลานผู้อพยพคนคุกผิวขาวและฆาตกรชาวอะบอลิจินิส )

... ข่าวเปิดเผยว่า AFP ซึ่งทำงานเป็นตำรวจสากลด้วย ได้แจ้งให้ประเทศไทยทราบถึงการเดินทางมาถึงของเขากับเมียแต่ไม่ได้บอกที่เขาได้สถานะผู้ลี้ภัยของเขาในออสเตรเลียแล้ว แล้วองค์การตำรวจสากลก็เพิกถอนการแจ้งเตือน “หมายแดง” ในภายหลังซึ่งบอกว่า “ออสเตรเลีย” ทำงานผิดพลาดเอง

... ทำให้ “ไทย” เหมือนตกอยู่ใน “กับดัก” ที่เขาสร้างขึ้น ( เหมือนทั้ง ออสเตรเลีย กับ บาห์เรน ที่เป็นบริวารข้าทาสของอเมริกาเตี้ยมกันสร้างเรื่องเพื่อทำลายไทย หลังจากกรณีสาวซาอุดไม่ได้ผล ) แทนที่จะขอโทษขอโผย “ทางการไทย” ที่ว่าเป็นความผิดตัวเองที่ไม่ได้แจ้งสถานะผู้ลี้ภัยอย่างเป็นทางการทั้งกับตำรวจสากลของตัวเองและของไทย กลับกลายเป็นว่า “ออสเตรเลีย” ก็เปิดเผยธาตุแท้ของลูกหลานคนคุก โดยการโหมสื่อไปทั่วโลกบีบให้ไทย “ปล่อยตัวฮาคีม” Safe Hakeem ประหนึ่งว่าเราเป็นคนที่อยากจะจับหมอนี่กับเมียเอง ทั้งๆที่เราเป็นแค่คนรับหมายแดงจากพวกเขา ทั้ง “ออสเตรเลียและตามมาด้วยบาห์เรน” เท่านั้น

... ตั้งแต่นั้นไทยก็ต้องกักตัวและพิจารณานายคนนี้ตามกฏหมายที่มี กักตัวไว้ที่รอการเนรเทศ ขณะที่ มีแคมเปญทั่วโลกเรียกร้องให้ประเทศไทยส่งผู้ร้ายข้ามแดนให้เขาคืนที่ออสเตรเลีย ที่เจ็บแสบกว่านั้น “ออสเตรเลีย” กลับเป็นตัวตั้งตัวตีออกมาตั้งโจมตีไทยแบบเสียหายทั้งในโซเชี่ยวที่ติด แฮทแทคว่า #SaveHakeem และ #botcottThailand และ “ป้ายสีทำให้ไทยเป็นแพะแบะๆ และผู้ร้าย” ในสายตาชาวโลก แถมรณรงค์ไม่ให้คนออสซี่อย่ามาเที่ยวไทย และยกเลิกไม่ให้ทีมฟุตบอลยู23ปี มาซ้อมที่ไทย รวมทั้งจะเอาฟีฟ่ามาบีบให้ไทยปล่อยตัวไม่งั้นไทยอาจจะไม่ได้ร่วมจัดกิจกรรมฟุตบอลนานาชาติที่อาจจะไม่ได้ร่วมคัดเลือกบอลโลก ( กลัวทำไม ตราบใดที่ “เฮง ยศ” ยังอยู่อุปนายก กับ นายกสมาคม ไทยไม่ไปไหนไกลอยู่แล้ว เอเชี่ยนเกมตกรอบ, ซุซูกิก็แพ้แบบห่วย​ๆ )

... ที่เจ็บปวดกว่านั้น มีคนไทยที่ชอบเรื่องดราม่าแบบผิวเผินและอยากเป็นพระเอกดูหล่อ ออกมากระโจนด่าประเทศตัวเองและเรียกร้องให้ปล่อยตัวไอ้หมอนี่ ตามกระแสโซเชี่ยวด้วย โดยไม่ได้ศึกษาอย่างละเอียด

... ประเทศไทยไม่ได้เป็นผู้ลงนามในอนุสัญญาผู้ลี้ภัยปี 1951 ในการส่งตัวอาชญากรที่ถูกกล่าวหากลับประเทศต้นทาง และยังมีความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจอันดีกับบาห์เรนอยู่

... ทางศาลไทยประกาศออกมาแล้วว่าอยากให้ทั้ง “ออสเตรเลียกับบาห์เรน” มาจับเข่าคุยกันเอง แล้วเอาผลมาบอกไทยแล้วกัน และให้ทนายฝ่ายฮาคีมเอาเอกสารมาแจ้งกับไทยภายในเวลา 60 วัน แล้วกัน แต่ระหว่างที่ทั้งสองตกลงไม่ได้ฮาคีมก็อยู่กินข้าวกะเพราะไก่ไข่ดาวไทยฟู้ดไปก่อนแล้วกัน

.

.

.
Speaking up after fleeing the country[edit]
Speaking to international media from Australia in 2016, al-Araibi said that Sheikh Salman Bin Ibrahim Al-Khalifa, a member of Bahrain’s ruling royal family and then running for president of FIFA, should be investigated for possible involvement in the mass torture of pro-democracy athletes who had protested against the royal family during the 2011 uprising.[10] Al-Araibi also accused Sheikh Salman of discriminating against Shia Muslims. Salman lost his bid for the FIFA presidency, but remains president of the Asian Football Confederation (AFC) and is still a FIFA vice-president.[10]
Asylum and life in Australia[edit]
Al-Araibi took his opportunity to flee the country when out on bail and playing football for the national team in 2013 in Qatar.[8][11] He fled first to Iran, then Malaysia, then Thailand and eventually, nearly 6 months later, to Australia where he sought asylum in May 2014.[1] Since then, he has lived in Melbourne, marrying his wife (whom he had known since he was 17) and playing semi-professional football.[5][12] He was granted refugee status in Australia in 2017,[4]which allowed him to travel with documentation and the assurance of protection.[1]
He has played as a defender in several semi-professional football teams in Victoria, his current team being Pascoe Vale FC in Melbourne.[10][12]
Detention in Thailand, November 2018[edit]
Al-Araibi and his wife flew to Thailand for their honeymoon, but both were detained upon arrival at Bangkok's Suvarnabhumi Airport on 27 November 2018,[4][13] at the request of Bahraini authorities,[2] and in response to an Interpol "red notice".[13] The couple were moved to the Suan Plu immigration detention centre on 2 December.[4] Questions about the role of the Australian Federal Police in his arrest have been raised, after it was revealed that the AFP, working as locally based Interpol, had notified Thailand of his arrival (a largely automatic process when someone subject to a red notice is travelling) and did not flag his refugee status.[14][15][16] Interpol subsequently retracted the red notice, which had been issued erroneously and contrary to Interpol's rules regarding refugees and asylum-seekers.[5]

On 4 February 2019 al-Araibi arrived at the Bangkok court with his feet shackled together in front of many international supporters and news cameras, begging not to be sent back to Bahrain.[1] However the Thai attorney-general’s office ruled that Bahrain had a legitimate “criminal” case, and the court granted him 60 days, until April 5, to submit his legal defence to stop his extradition to the country of his birth.[7][17] He will have to remain in a Thai prison until his next court appearance on April 22, after he was denied bail,[1] when decisions will be made on permissible witnesses and the length of the extradition hearing.[7]
The London-based Bahrain Institute for Rights and Democracy (BIRD), disagreed with Thailand’s decision and his conviction in absentia to 10 years’ jail by Bahrain, saying that the documentation of al-Araibi’s trial is full of “flaws and contradictions".[1] Al-Araibi's lawyer, Nadthasiri Bergman, said "This is clearly a political case".[8]
Thailand is not a signatory to the 1951 Refugee Convention, has a history of returning alleged criminals to their countries of origin, and has strong economic links with Bahrain.[17]

คลิก

คลิก

คลิก

Cr.Jeerachart Jongsomchai

สนับสนุนข่าวโดย ICMarkets
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"