สงครามชิป! สหรัฐ กดดัน ASML ผู้ผลิตเครื่องทำชิป เลิกซ่อมเครื่องที่ขายให้จีน

สงครามชิปเริ่มหนักข้อขึ้น! หลัง สหรัฐฯ กดดัน ASML ผู้ผลิตเครื่องทำชิป เลิกซ่อมเครื่องที่ขายให้จีน ขณะที่ TSMC ผู้ผลิตชิปจากไต้หวันที่ล้ำหน้าอันดับต้น ๆ ของโลก คว้าดีลเงินสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐฯในการตั้งโรงงานในรัฐแอริโซนาได้

สงครามชิปเริ่มหนักข้อขึ้น! สหรัฐฯ กดดัน ASML ผู้ผลิตเครื่องทำเซมิคอนดักเตอร์ ที่นำมาผลิตเป็นชิปประมวลผลคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติดัตช์ ที่ตั้งอยู่ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ให้หยุดซ่อมเครื่องผลิตชิปที่ขายให้จีน เพื่อยับยั้งการพัฒนาเทคโนโลยีและกีดกันการค้าจีนไม่ให้เทียบเท่ากับสหรัฐฯ
เครื่องทำเซมิคอนดักเตอร์ของ ASMLนับเป็นเครื่องที่มีเพียงไม่กี่บริษัทบนโลกนี้ทำ เพราะความละเอียดและความเชี่ยวชาญของบริษัทเป็นผลมาจาก สหรัฐฯ หยุดการสร้างในประเทศและเปลี่ยนเป็นผู้ออกแบบแล้วส่งให้เอ้าท์ซอร์สในประเทศอื่นทำตั้งแต่ช่วงหลายทศวรรษก่อน ด้วยเหตุผลด้านค่าแรงจากกระแสโลกาภิวัตน์
จนกระทั่งเวลาผ่านไป ASML กลายเป็นไม่กี่เจ้าบนโลกที่ทำเครื่องผลิตชิปนี้ ประกอบกับทั่วโลกเริ่มมีองค์ความรู้จากการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จนนำไปสู่การพัฒนาได้เองแล้ว สหรัฐฯ จึงเริ่มตื่นตระหนกและเกิดเป็นสงครามชิปในครั้งนี้
ขณะที่รัฐบาลเนเธอร์แลนด์เองก็พยายามที่จะกดดันทางการค้ากับจีน เนื่องจากจีนมองว่าตนเองไม่ใช่คู่ขัดแย้งของรัสเซียในสงครามยูเครน จึงไม่ได้ดำเนินมาตรการกดดันทางกการค้าต่อรัสเซีย ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาติยุโรปให้ความสำคัญ
จีน ประเทศที่เคยเป็นเอ้าท์ซอร์สรับประกอบอย่างเดียวเพราะค่าแรงถูก วันนี้กลายเป็นคู่แข่งรายใหญ่เพราะนอกจจากจะมี Huawei ที่คอยพัฒนาชิปเองตามสหรัฐฯ มาติด ๆ ผ่านการหนุนหลังของรัฐบาล แล้วจีนเองยังใช้เทคโนโลยีที่สหรัฐฯภาคภูมิใจและขายให้จีนมาพัฒนาประเทศอีก เช่น ใช้อุปกรณ์ประมวลผล อย่าง การ์ดจอ NVDIA หรือ ชิปคอมพิวเอตร์แรง ๆ ของ Intel ในการผลิตระบบปัญญาประดิษฐ์ล้ำยุค หรือ ขีปนาวุธทางการทหาร
ขณะเดียวกัน ไต้หวัน ผู้เดินเกมใช้ชิปเป็นตัวประกันก็ไม่เบา เมื่อ TSMC บริษัทผู้ผลิตชิป อันดับต้น ๆ ของโลก ที่มีรัฐบาลไต้หวันหนุนหลัง ก็ใช้ความสามารถของตนเองที่ผลิตชิปที่คนทั่วโลกต้องการเป็นตัวประกันไม่ให้สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลจีนและไต้หวัน ข้ามขั้นไป
นอกจากนี้ TSMC เอง ยังเพิ่งคว้าดีลเงินสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐฯ จำนวน 6,600 ล้านเหรียญ ในการตั้งโรงงานผลิตเซมิคอนดักเตอร์ในดินแดนสหรัฐฯ ที่ รัฐแอริโซนา
การเดินเกมเช่นนี้ของสหรัฐฯ เพื่อดึงอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชิป ทั้งการออกแบบของนักวิจัย NVDIA และ Intel , การผลิต ที่เคยจ้าง TSMC ในไต้หวันผลิต กลับมาอยู่ในแผ่นดินของตนเหมือนกับช่วงที่ตนเองคิดค้น เซมิคอนดักเตอร์ และสร้างความก้าวหน้าให้กับประเทศได้อย่างก้าวกระโดด
สงครามชิปในครั้งนี้ เราจะได้เห็นการกีดกันทางการค้ามากขึ้น นับตั้งแต่วันที่สหรัฐฯ แบน Huawei และทำให้บริษัทต่าง ๆ อย่าง Google ต้องถอน Play Store ออกจากมือถือของ Huawei และสิ่งหนึ่งที่จะสร้างผลกระทบกับคนไทยแน่ ๆ คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จะยังขาดตลาดต่อไปอีกระยะหนึ่งและยังมีราคาสูงกว่าปกติ เมื่อเทียบกับช่วงก่อน โควิด-19
Source: Spring news

คลิก

Cr.Bank’s Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"