นิกเกอิเอเชีย รายงานว่าตลาดพันธบัตรใน “เอเชีย” กำลังแสดงความแข็งแกร่งและทนทานต่อความผันผวนได้ดีกว่าตลาดพันธบัตร “สหรัฐอเมริกา” ท่ามกลางความไม่แน่นอนของนโยบายเศรษฐกิจจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ โดยเฉพาะนโยบายภาษีนำเข้า
ที่เพิ่มความเสี่ยงในระบบการค้าโลก
หนึ่งในปัจจัยสนับสนุนพันธบัตรเอเชียคือการที่ธนาคารกลางหลายประเทศในภูมิภาคเริ่มใช้นโยบาย “ลดดอกเบี้ย” เพื่อตอบสนองต่อแรงกดดันด้านเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อที่อ่อนตัวลง ซึ่งส่งผลให้ราคาพันธบัตรปรับตัวขึ้น
ท่ามกลางกระแสความวิตกกังวลจากมาตรการภาษีของทรัมป์ที่ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนสูงถึง 145% ตลาดการเงินทั่วโลกผันผวนอย่างหนัก ดัชนีหุ้นหลายประเทศร่วงแรง ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐและญี่ปุ่นขยับสูงขึ้น นำไปสู่ความกังวลว่าเศรษฐกิจโลกอาจกำลังเดินเข้าสู่ภาวะถดถอย
เงินไหลเข้าพันธบัตรเอเชีย สวนทางเงินไหลออกจากสหรัฐ
ข้อมูลจาก TD Securities ระบุว่า ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา กองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรสหรัฐมีเงินไหลออกสุทธิสูงถึง 9.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 3.2 แสนล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นระดับการไหลออกสูงสุดในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ขณะที่กองทุนที่ลงทุนใน “พันธบัตรเอเชีย” กลับมีเงินไหลเข้าสุทธิราว 753 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 2.5 หมื่นล้านบาท
ศรีราม เรดดี้ จาก Man Group ชี้ว่าการเปลี่ยนแปลงนี้สะท้อนถึงพฤติกรรมของนักลงทุนที่เริ่มกระจายความเสี่ยงและมองหาโอกาสในตลาดอื่นๆ นอกเหนือจากสหรัฐ
นักลงทุนเชื่อมั่นพันธบัตรเอเชียระดับลงทุน
Norbert Ling จาก Invesco กล่าวว่า พันธบัตรเอเชียที่มีคุณภาพระดับลงทุน (Investment Grade) แสดงความทนทานและมีผลตอบแทนที่มั่นคงกว่าพันธบัตรสหรัฐ โดยเฉพาะในช่วงที่ความเสี่ยงระดับโลกเพิ่มขึ้น
“กว่า 50% ของพันธบัตรเอเชียอยู่ในระดับ A ซึ่งหมายถึงมีความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ต่ำและมีคุณภาพเครดิตสูง ทำให้เป็นที่พึ่งของนักลงทุนในช่วงตลาดผันผวน” เขากล่าว
คาดเอเชียลดดอกเบี้ยต่อเนื่อง หนุนราคาพันธบัตร
คริส คุชลิส นักวิเคราะห์จาก T. Rowe Price กล่าวเพิ่มเติมว่า มาตรการภาษีของสหรัฐจะกลายเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของเอเชีย และยังมีแนวโน้มจะกดดันราคาสินค้าให้ลดลง ซึ่งอาจช่วยลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อในระยะสั้น
Cr.กรุงเทพธุรกิจ
----------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4yo