เมื่อประเทศเศรษฐกิจอันดับสองของโลกอย่าง “จีน” จะจับมือกับ “เยอรมัน” ประเทศอันดับสี่เพื่อจะร่วมมือค้าขายกันมากขึ้น และจะเชื่อมกันมากขึ้นผ่านทาง “ทางสายไหมใหม่”... “Robi Ronza” นักข่าวเศรษฐกิจและนักเขียนชาวอิตาลีเคยกล่าว
และพยากรณ์ไว้ในปี 1984 ว่า “ถ้ายุโรปไม่ต้องการเป็นประเทศบริวารไร้บทบาทในเวทีโลก ต้องจับมือกับจีนในด้านเศรษฐกิจตามทางสายไหมใหม่”
... ยิ่งเร็วๆนี้มาเจอนโยบายกีดกันการค้าจากอเมริกาทั้งเรื่องการขึ้นภาษีเหล็ก อลูมิเนียม, การกีดกั้นการค้ากับรัสเซีย กับอิหร่าน ยิ่งตอกย้ำว่าการค้าขายระหว่าง Transatlantic นั้นมันดูจะไม่มีอนาคตเท่ากับทางสายไหมกับจีนและพรรคพวก
... มีหลายอย่างที่เป็นการเดินเกมทางการทูตเชิงสัญลักษณ์ทางการทูตที่ “จีน” ต้องการผูกมิตรกับ “เยอรมัน” โดยการให้หมีแพนด้าแก่สวนสัตว์เบอร์ลินไว้ให้รักษาและทำให้มีสีสันกับผู้คนในเยอรมัน และความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองชาติก็มีมานานนับแต่ราชวงศ์ชิงของชาวแมนจู
... ย้อนไปในอดีต โดยในปีนั้น 1861 เยอรมันยังใช้ชื่อว่า “ปรัสเซีย” ก่อนจะรวมชาติเปลี่ยนชื่อเป็น “เยอรมัน” ในปี 1871 โดยที่จีนตอนนั้นเป็นราชวงศ์ชิงของชาวแมนจูที่กำลังอ่อนแอ, และจากนั้นก็ทะเลาะกันใน “กบฏนักมวย” ที่ทางการจีนสร้างมาเพื่อ “ต่อต้านชาวตะวันตก ต่อต้านนักล่าอาณานิคม และพวกคริสเตียน” ในระหว่างปี 1899 – 1901 ทำให้ชาวต่างชาติและชาวจีนที่นับถือศาสนาคริสต์ต้องอพยพหนีไปอยู่ในเขต Beijing Legation Quarter Dongcheng ทางตะวันออกของเทียนอันเหมิน ที่ได้สิทธิสภาพนอกอาณาเขตแบบ “สนธิสัญญาเบาว์ริ่ง” ของไทย คือคนจีนในเขตนี้ ทำผิดใดๆไม่ต้องขึ้นศาลของจีน เป็นกุศโลบายการดึงเอากองกำลังพลคนจีน โดยเฉพาะคนจนมาเป็นฝ่ายตน ทำให้เกิดการแตกแยกในสังคม คนจนที่ไม่มีวาสนาจะไต่เต้าไปเป็นขุนนางอำมาตย์ที่ในสมัยนั้นต้องใช้เส้นสายเงินทอง, จนทางการจีนเคยล้อมเขตของชาวตะวันตกนี้อยู่นาน 55 วันในปี 1900 ,ในช่วงกบฏนักมวยดังกล่าว ช่วงนั้นทั้งสองชาติเป็นศัตรูกัน จากนั้นช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ก็เป็นมิตรกันอีกครั้ง เพราะเยอรมันสนับสนุนก๊กมินตั๋ง แต่มาสมัยสงครามโลกครั้งที่สองที่ฮิตเล่อร์นาซีร่วมมือกับญี่ปุ่นรุมจีนทำให้เป็นศัตรูกันอีกครั้งหนึ่ง
... ในช่วงสงครามเย็นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง “เยอรมัน” ถูกแบ่งเป็นตะวันออก ตะวันตก และ “เยอรมันตะวันออก” นั้นมีความสัมพันธ์ที่ดีกับจีน ในฐานะประเทศสังคมนิยมด้วยกัน และหลังจากปี 1990 ที่สงครามเย็นจบลง “จีน” กับ “เยอรมัน” ที่รวมตัวกันแล้ว ก็ยังสนิมสนมกันมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะว่าจีนเน้นการค้าแบบเปิดมากขึ้น ข้ามค่ายมาคบกับพวกประชาธิปไตยเดิม ทำให้การค้าร่วมกันมีมากขึ้นเรื่อยๆ
... จนถึงปัจจุบันนี้ “เยอรมัน” เป็นประเทศคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปของ “จีน” และในทางกลับกัน “เยอรมัน” เป็นประเทศผู้ลงทุนรายใหญ่อันดับสองของยุโรปในจีน รองจากอังกฤษ, และในปี 2017 ที่ผ่านมานั้น “จีน” เป็นประเทศคู่ค้าอันดับหนึ่งของเยอรมัน แทนอเมริกาไปแล้ว และทางสายไหมก็เป็นสะพานเชื่อมทั้งสองที่สำคัญอย่างหนึ่ง
... กลับมาในปัจจุบัน 2018 , นับตั้งแต่ “อเมริกา” พยายามแยกยุโรปออกจากการค้าขายกับ “รัสเซีย” และ “อิหร่าน” ยิ่งทำให้ทั้ง “จีนและเยอรมัน” ยิ่งสัมพันธ์กันมากขึ้น เพราะทั้งคู่ยิ่งต้องเล่นบทบาทของผู้นำของโลกในการพูดคุยเจรจากันมากขึ้น ในการแก้ปัญหาที่อเมริกาสร้างขึ้นมาตลอด และการเล่นสงครามการค้านั้น จะเป็นการเหวี่ยงโยนเยอรมันไปคบกับจีนมากขึ้น
... เช่น การร่วมมือการค้าและลงทุนด้านนวัตกรรมที่ทันสมัยทั้ง เอไอและเศรษฐกิจแบบดิจิตัล รวมทั้งการร่วมในโครงการ “ทางสายไหมใหม่” หรือ One Blet One Road
... โดยแนวโน้มอุตสาหกรรมในอนาคตในโลกมีสองสาย คือสายอเมริกา ที่เน้นการให้หุ่นยนตร์แทนคน และสายยุโรป ที่เน้นการใช้ทรัพยากรแบบยั่งยืน
... ในเร็ววันนี้นายหลีเคอเฉียง ผู้นำระดับสูงของจีนจะเดินทางไปประชุมกับป้ามาร์เคิลของเยอรมัน ในการประชุมระดับสูงระหว่างรัฐบาลทั้งสองชาติรอบที่ห้าในเร็วๆนี้ โดยการเยือนครั้งนี้ “เยอรมันหวังจะเพิ่มความเข้มแข็งในความร่วมมือในด้านการค้าและการพัฒนานวัตกรรมที่ทันสมัยกับจีนให้มากขึ้น เช่น รถที่ขับเองโดยอัตโนมัติ” ภายในครึ่งปีแรกของปีหน้า 2019 นี้นั้น ทั้งสองกำลังจะเปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษ “สวนอุตสาหกรรมสินค้าไฮเทค Shuitu” เพื่อรองรับเรื่องเหล่านั้น ที่ Liangjiang
... ที่รวมทั้งการพัฒนาและผลิตหุ่นยนตร์ รถยนต์ไร้คนขับ สินค้าดิจิตัล และอุปกรณ์ที่มีเซนเซอร์ โดยหวังจะให้ที่นี่เป็น “ศูนย์กลางการผลิตสินค้าไฮเทคของจีนเยอรมันและของโลก” ที่ตอนนี้มีบริษัทยักษ์ใหญ่ๆของหลายชาติ โดยบริษัทในเยอรมันมามากสุด ที่จำนวน 40% ของทั้งหมด รองมาคือเกาหลีใต้ , ที่ตกลงมาร่วมสร้างโรงงานที่นี่แล้ว เช่น บริษัทฮุนไดของเกาหลีใต้ เป็นต้น
... There are basically two kinds of innovations in today’s world: American innovation of saving labors (efficiency-oriented), and European innovation of saving resources (sustainable development)
... “Berlin hopes to work together with Beijing to strengthen cooperation in trade and innovation, like automatic driving”
... “If Europe does not want to become the periphery of the world, it has to culturally and economically engage with Asia following the ancient silk road”, Robi Ronza (an Italian journalist and writer) predicted in 1984, which has been proved by the Belt and Road Initiative.
... Sino–German relations were formally established in 1861, when Prussia and the Qing Empire concluded the first Sino-German treaty during the Eulenburg Expedition. Ten years later, the German Empire was founded and the new state inherited the old Prussian treaty. The relations were, on the whole, frosty, with Germany joining imperialist powers like Great Britain and France in carving out spheres of influence in the Chinese empire.
... The Sino-Germany (Shuitu) Smart Manufacturing Industrial Park is expected to be in service by the first half of 2019.
https://news.cgtn.com/news/3d3d774d33556a4e78457a6333566d54/share_p.html
https://en.wikipedia.org/wiki/China%E2%80%93Germany_relations
Cr.Jeerachart Jongsomcha
บทความสนับสนุนโดย FXPro
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman