ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ตอนที่ 3 (กองทุนรวม)

กองทุนรวม (Mutual Fund) คือ การระดมเงินลงทุนจากบุคคลทั่วไปจำนวนมาก และนำไปจดทะเบียนให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล เพื่อตั้งเป็น “กองทุน” โดยเงินนั้นจะมี “ผู้จัดการกองทุน” ที่เป็นมืออาชีพ นำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ

ตามนโยบายของแต่ละกองทุน เพื่อให้ได้รับผลตอบแทน แล้วนำมาเฉลี่ยคืนให้กับ “ผู้ลงทุน” แต่ละราย ตามสัดส่วนที่ลงทุน

กองทุนรวม เป็นการลงทุนที่มีการแบ่งความเสี่ยง ตามการนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์รูปแบบต่างๆ โดยมีความเสี่ยงตั้งแต่ต่ำ จนถึงสูง ดังนี้

• ความเสี่ยงต่ำ – “กองทุนรวมตราสารหนี้ และ กองทุนรวมตลาดเงิน” ซึ่งมักจะนำเงินไปลงทุนในเงินฝากและตราสารหนี้ เช่น พันธบัตรรัฐบาล, พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ, ตั๋วเงินคลัง, บัตรเงินฝากของธนาคาร, ตั๋วสัญญาใช้เงิน, ตั๋วแลกเงิน และหุ้นกู้เอกชน

• ความเสี่ยงปานกลาง – “กองทุนรวมผสมยืดหยุ่น และกองทุนรวมผสม” ซึ่งมักจะนำเงินไปกระจายการลงทุนทั้งในตราสารหนี้ และตราสารทุน เช่น เงินฝาก, ตราสารหนี้, ตราสารทุน ฯลฯ เพื่อลดความเสี่ยงของเงินที่ลงทุน โดยมีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นไม่เกิน 65% แต่กองทุนรวมผสมยืดหยุ่นจะไม่จำกัดเรื่องสัดส่วนการลงทุนในตราสารทุน ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละกองทุน

• ความเสี่ยงสูง – “กองทุนรวมทางเลือก (Alternative Investments), กองทุนรวมกลุ่มธุรกิจ และกองทุนรวมตราสารทุน” ซึ่งมักจะนำเงินไปลงทุนในตราสารทุนประเภทต่างๆ เช่น หุ้น, สามัญ, หุ้นบุริมสิทธิ, ใบสำคัญแสดงสิทธิ ฯลฯ โดยกองทุนกลุ่มธุรกิจก็จะลงทุนในตราสารทุนของบริษัทที่มีธุรกิจหลักประเภทเดียว โดยเฉลี่ยแล้วไม่น้อยกว่า 65% และ กองทุนรวมทางเลือกจะลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ นอกเหนือจากสินทรัพย์พื้นฐาน เช่น ตราสารอนุพันธ์ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น เพื่อผลตอบแทนที่สูงขึ้น

กองทุนก็สามารถแบ่งออกตามรูปแบบการบริหารกองทุนเช่นเดียวกัน โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ Active Fund และ Passive Fund ซึ่งจะมีลักษณะการจัดการ ข้อดีและข้อเสียที่ต่างกัน

• กองทุน Active คือ กองทุนที่ “ผู้จัดการกองทุน” ต้องพยายามทำทุกอย่างเพื่อให้ผลตอบแทนของกองทุนสูงกว่า ค่ามาตรฐาน (Benchmark) หรือ พยายามที่จะทำผลกำไรให้มากที่สุด โดยการเลือกสินทรัพย์และสัดส่วนที่เหมาะสม และคำนึงถึงช่วงเวลาซื้อขายที่เหมาะสม ดังนั้นกองทุนแบบนี้ ผู้จัดการกองทุนจึงเป็นตัวแปรที่สำคัญในการทำให้กองทุนสร้างกำไรหรือไม่

• กองทุน Passive คือ กองทุนที่เน้นลงทุนให้ได้ผลลัพธ์ใกล้เคียงกับดัชนีอ้างอิง ดัชนีอ้างอิงคือ การเปลี่ยนแปลงของราคาของสินทรัพย์ในแต่ละวัน มาทำสถิติ เช่น SET index คือการเปลี่ยนแปลงของตลาดหุ้นไทยในแต่ละวัน ก็จะมีกองทุนเช่น SET50, SET100 ฯลฯ ข้อดี คือการลงทุนแบบนี้มี ค่าธรรมเนียมถูก เพราะผู้จัดการกองทุนใช้เวลามากในการดูแลกองทุน ลงทุนด้วยสัดส่วนเดียวกับดัชนีอ้างอิง และสามารถสร้างกำไรได้ประมาณที่ดัชนีอ้างอิงประเมินไว้ จึงสามารถประเมินกำไรได้ค่อนข้างแม่นยำ และบางกองทุน Passive สามารถกำไรมากกว่า บางกองทุน Active

โดย นิรมล นิตย์นิธิพฤทธิ์ (นักวิเคราะห์การเงิน, Olymp Trade)

บทความสนับสนุนโดย FXPro
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"