กระแสเศรษฐกิจโลกที่ไม่ดี จีดีพีตกต่ำ การว่างงานสูง ไร้การสร้างงาน เมื่องานที่ก่อรายได้น้อย รัฐก็เก็บภาษีได้น้อยลง แต่ต้องกลับมาจ่ายเงินบำนาญ หรือสวัสดิการสังคมมากขึ้นจากคนที่ว่างงานมากขึ้น ประกอบกับอัตราคนอายุยืนเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก
เป็น “สังคมคนแก่” ขณะที่คนวัยทำงานน้อยลงและตกงานอีก มากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้รัฐบาลในหลายประเทศต้องเลือกวิธีการ “เพิ่มอายุการเกษียณ” ให้สูงขึ้น แนวโน้มนี้เป็นกันทั่วโลก อย่างค่อยๆเป็นค่อยไป เพื่อลดค่าใช้จ่ายของรัฐลง โดยเฉพาะในยุโรปได้เป็นทวีปที่นำร่องหลังเจอเศรฐกิจไม่ดี และ หนี้สินท่วมประเทศ
... เช่น ใน “ออสเตรีย” จากเดิมผู้ชายเกษียณที่ 65 ผู้หญิงที่ 60 ปี แต่ว่าในปี 2033 ทั้งสองเพศจะเกษียณเท่ากันในอายุ 65 ปี
... ใน “เบรารุส” จากเดิม ผู้ชายเกษียณที่ 60 ผู้หญิงที่ 55 ปี แต่ว่าในปี 2022 ผู้ชายจะเกษียณที่ 63 ผู้หญิงที่ 58 ปี
... “เบลเยี่ยม และ เยอรมัน” จากเดิมทั้งสองเพศเกษียณที่ 65 จะเปลี่ยนมาเป็นเกษียณที่ 67 เท่ากันในปี 2030 และ 2029 ตามลำดับ
... "เดนมาร์ก” จากเดิมทั้งสองเพศเกษียณที่ 65 จะเปลี่ยนมาเป็นเกษียณที่ 67 เท่ากันในปี 2022 แตว่าหลังจากนั้นจะค่อยๆขยับขึ้นไปอีก 68 ปี ในปี 2031, 69 ปี ในปี 2032, 70 ปี ในปี 2033, 71 ปี ในปี 2034 และ 72 ปี ในปี 2035 ( น่าตกใจว่าเดนมาร์กรังแกคนแก่มากไปหรือเปล่า 72 ยังต้องทำงาน จะฟุบไหลยาวคาโต๊ะทำงานหรือเปล่า ? )
... “อิตาลี” จากเดิม ผู้ชายเกษียณที่ 66 ผู้หญิงที่ 63 ปี แต่ว่าในปี 2021 จะเกษียณที่ 67 ปี เท่ากันทั้งสองเพศ
... “รัสเซีย” ผู้ชายเกษียณที่ 60 ผู้หญิงที่ 55 ปี ยังเท่าเดิม เพราะน้ำมันเยอะ และรัฐบาลควบคุมบริษัทพลังงานได้ เหมือน “ลิเบีย” ก่อนโดนปล้นประเทศ ไม่ต้องรีดเลือดกับปูคนจนๆ
... “สวีเดน” จากเดิม ผู้ชายเกษียณที่ 66 ผู้หญิงที่ 63 ปี แต่ว่าในปี 2036 จะเกษียณที่ 67 ปี เท่ากันทั้งสองเพศ
... ขณะที่ “กรีซ” ซึ่งประสบกับปัญหาวิกฤติการเงินจากการฟุ่มเฟือยประชานิคมอย่างหนักของรัฐบาลโกงกินประชานิยม ก่อนนั้นปี 2009 เกษียณเร็วมากที่ 57 ปี แต่ตอนหลังรัฐลดค่าใช้จ่ายเพราะเจอวิกฤติ, ช่วงปี 2010 – 2013 จึงปรับมาเป็นที่ 65 ปี แต่พอปี 2014 ก็ปรับเป็น 66 ปี จากนั้น ตั้งแต่ปี 2015 จนถึงปัจจุบันก็ปรับมาเป็นที่ 67 ปี เป็นการลดร่ายจ่ายอย่างหนึ่ง ในกรณีของกรีซนั้นเคยมีการบีบให้จ่ายให้คนเกษียณต่อปีลดลงด้วย โดยการถูกบีบจากประเทศเจ้าหนี้ ว่า ถ้าคุณอยากยืมเงินฉันก็พยายามมือเติบน้อยลงหน่อย ลดร่ายจ่ายลงบ้าง และหนึ่งในนั้นก็คือการลดการจ่ายค่าบำนาญจนเคยมีการเดินประท้วงกัน
... ขณะที่ “สเปน” จากเดิมทั้งสองเพศเกษียณที่ 65 จะเปลี่ยนมาเป็นเกษียณที่ 67 เท่ากันในปี 2027 และ หนักกว่านั้น ก็เคยมีการออกมาเดินประท้วงเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2018 นี้เอง ให้ขึ้นรายจ่ายเงินเกษียณขึ้นอีก 25% เพราะว่าอัตราเงินเฟ้อมากขึ้นกว่าเดิม แต่เงินบำนาญเท่าเดิม กินอยู่ไม่ไหว
... ขณะที่ “ไทย” เราเดิมนั้น ทั้งสองเพศเกษียณที่ 60 และล่าสุด เมื่อ 10 เมษายน 2018 หรือ 2561 ที่ผ่านมาสดๆร้อนๆ รัฐบาลก็ยืดเกษียณอายุราชการจาก "60 เป็น 63 ปี" เตรียมรับมือ “สังคมผู้สูงอายุ” หรือ “สังคมคนแก่” โดยใช้เวลาเปลี่ยนผ่าน 6 ปี ขยายเวลาเป็น 2 ปี ขยาย 1 ปี คือ ปี 2563 จะเปลี่ยนเป็น 61 ปี , ปี 2565 จะเป็นเกษียณที่ 62 ปี และปี 2567 จะเป็นเกษียณที่ 63 ปี ( หลายประเทศรวมทั้ง “ไทย” ไม่กล้าไปรีดภาษีจากคนรวยรัฐวิสาหกิจรวยๆ เช่นบริษัทพลังงานใหญ่ๆ เพราะเกรงใจคนรวย กลัวรัฐประหาร รีดเลือดกับปูคนจนง่ายกว่า ให้อยู่กินกันยากขึ้น เอะอ่ะก็ต่อ “สายไฟลงดิน” เพราะดินไม่มีปากเสียง )
... ก็เตรียมใจกันไว้ได้ เพราะว่ากระแสนี้จะเป็นทั่วโลก อย่างช้าๆเป็นขั้นบันได
https://en.wikipedia.org/wiki/Retirement_in_Europe
https://en.wikipedia.org/wiki/Retirement
https://news.thaipbs.or.th/content/271559
Cr.Jeerachart Jongsomchai
บทความสนับสนุนโดย FXPro
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman