“ปี 2017 ดอลล่าร์ ถูกปล่อยออกจากคลังสำรองเงินของธนาคารชาติทั่วโลกมากสุดในสี่ปี”

“ทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ” หรือ Reserve Currency ที่ประเทศต่างๆทั่วโลกต้องเก็บเอาเงินตราหลายสกุลของประเทศต่างๆในโลกเอาไว้การซื้อขายระหว่างประเทศนั้น เช่น ดอลล่าร์ ปอนด์ เยน ยูโร และหยวนนั้น

ก็เพราะว่าส่วนใหญ่สินค้าต่างๆทั่วโลกมักจะนิยมรับซื้อขายกันผ่านเงินสกุลใหญ่ ทำให้ประเทศใหญ่ๆเหล่านั้นเงินแข็งทำให้เป็นที่ต้องการของนานาชาติ ทำให้ประเทศเจ้าของสกุลเงินนั้นสามารถระดมเงินหรือขายหุ้น ขายพันธบัตรในสกุลเงินเหล่านั้น หรือการกู้เงินจากทั่วโลกมาได้ง่าย หรือแม้แต่การพิมพ์เงินออกมาเองโดยไม่ต้องมีอะไรค้ำแบบดอลล่าร์หรือเยนตอนทำ QE แต่ถ้าเงินสกุลเล็กๆ เช่นบาทไทย กรีก หรือของเวเนซุเอล่า เมื่อเกิดวิกฤติทางการเงินก็ยากที่จะแก้ปัญหาแบบนั้นได้ เพราะว่าทั่วโลกไม่ได้ต้องการเงินบาท เก็บในทุนคลังสำรอง, ดังนั้นการที่นานาชาติทั่วโลกเก็บเงินสกุลใดไว้มากๆ ยิ่งทำให้ความเข้มแข็งทางการเงินของประเทศนั้นๆมีมาก

... “เงินดอลล่าร์” นั้นได้ผงาดเป็นเงินสกุลหลักอันดับหนึ่งของโลกตั้งแต่ปี 1944 จากการประชุมที่เบรนตันวู้ด ที่ก่อนจะปิดฉากสงครามโลกครั้งที่2 แค่หนึ่งปี ตอนนั้นทั้งปอนด์ มาร์ค เยอรมัน ฟรังค์ฝรั่งเศสต่างหลีกทางให้ดอลล่าร์มาเป็นเจ้ามาเฟียแห่งเงินตราที่ทั่วโลกต้องการเก็บเอาไว้เช่น ซื้อน้ำมันดิบหรือสินค้านำเข้าที่จำเป็น เช่น ยามสงคราม

... แต่หลังจากนั้นก็มีเสือตัวใหม่มาแย่งซีนดอลล่าร์หายใจรดต้นคอมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ช้าๆ “หยวน” นั้นหลังจากเศรษฐกิจ “จีน”รุ่งเรือง ต่างชาติทั่วโลกที่ค้าขายกับจีนก็เริ่มเก็บเงินหยวนมากขึ้นในทุนสำรองของประเทศตัวเอง ยิ่งกว่านั้นหลังจากปี 2008 ที่เกิดวิกฤติการเงินแฮมเบอร์เกอร์นั้น “จีน” และพวกอย่างเช่น รัสเซีย อินเดีย อิหร่าน ตุรกี ต่างก็ได้พยายามหลีกเลี่ยงที่จะใช้เงินดอลล่าร์ในการเป็นตัวกลางซื้อขาย แต่จะใช้เงินสกุลระหว่างสองชาติแทน เป็นการ “บาสพาสดอลล่าร์” มากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ค่อยๆเกิดกระแสปล่อยและเทขายเงินดอลล่าร์ทิ้งมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างช้าๆ

... และจากข้อมูลล่าสุดจาก “ไอเอ็มเอฟ” ของปี 2017 ที่ผ่านมานั้น ก็ปรากฏว่า “ดอลล่าร์” นั้นถูกเก็บในทุนสำรองระหว่างประเทศลดลงต่ำที่สุดในรอบ 4 ปี โดยลดดิ่งยาวตลอดตั้งแต่ไตรมาศแรกยาวจนถึงไตรมาศสุดท้ายของปี โดยสาเหตุเกิดจากการที่เศรษฐกิจนอกประเทศอเมริกาเติบโตมากกว่าในประเทศ และธนาคารชาติของประเทศต่างๆก็พยายามจะพิจารณาในการลดเงินดอลลาร์ลงอีก แต่กระนั้นเงินดอลล่าร์ก็ยังเป็นสัดส่วนรายใหญ่ที่ธนาคารกลางทั่วโลกเก็บเอาไว้เหมือนเดิมและอีกนาน

... โดยในปี 2017 ไตรมาศที่ 3 นั้นอยู่ที่ 63.5% และเข้าไตรมาสที่ 4
สัดส่วนเงินดอลล่าร์ในคลังสำรองทั่วโลกก็ลดลงเหลือที่ 62.7% ใกล้เคียงจุดที่เคยต่ำสุดในรอบสี่ปีคือในปี 2013 ที่ลดลงแตะที่ระดับ 61.14%

... ขณะที่เงิน “ยูโร” นั้นของปีที่แล้ว ไตรมาสสามมาสี่เพิ่มจาก 20.05% มาเป็น 20.15% เป็นการเพิ่มขึ้นในรอบสามปี แต่เงินยูโรนั้นนับจากวิกฤติการเงินแฮมเบอร์เกอร์ในปี 2009 ที่แตะที่ระดับสูงสุด 28% ก็ไม่เคยขึ้นสูงอีกเลย เพิ่งจะมาสูงในปี 2017 ที่ผ่านมา

... ขณะที่เงิน “หยวน” ของจีนนั้นก็ค่อยๆเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ จาก 1.12% มาเป็น 1.23% ของทั้งหมด ที่ยังต่ำมากเมื่อเทียบกับดอลล่าร์

... แต่ “อเมริกา” ก็มีวิธีเนียนตาในการทำให้ธนาคารกลางและคลังทุนสำรองทั่วโลกต้องก้มหน้าเก็บเงินดอลล่าร์ไว้ต่อไป แม้ว่าเศรษฐกิจภายในอเมริกาจะไม่ค่อยดี สินค้าที่จะกระตุ้นสินค้าการผลิตภายในประเทศของเขาก็ยังมี "อาวุธสงคราม" ที่ขายได้เป็นเศรษฐกิจ ที่ส่งผลต่อเงินดอลล่าร์ ต้องถูกเก็บไว้ในทุนสำรองระหว่างประเทศทั่วโลก

... แต่การที่เกิดสงครามหรือความขัดแย้ง ก่อการร้าย หรือมีข่าวว่าจะเกิดสงครามเมื่อไหร่นั้น น้ำมันจะแพงขึ้น และ น้ำมันส่วนใหญ่ในโลกต้องซื้อขายกันในแบบเงินดอลล่าร์ เมื่อไหร่ที่กลิ่นสงคราม ก่อการร้าย ลอยมาตามหน้าสื่อขาว ประเทศทั่วโลกจึงไม่กล้าปล่อยเงินดอลล่าร์ออกไป เช่น ถ้าเกิดสงครามในไครเมีย ยูเครน ประเทศย่านบอลติค ซีเรีย คาบสมุทรเกาหลี อิรัก อิหร่าน เยเมน อัฟกานิสถาน ฟิลิปปินส์ ซินเจียง การก่อการร้าย ในที่ต่างๆทั่วโลก เหล่านั้นจะทำให้เงินดอลล่าร์ยังจะเป็นที่ต้องการอยู่อีกต่อไป และเมื่ออเมริกาไม่สามารถสร้างตัวเลขเศรษฐกิจจากสินค้าทั่วไปได้มากนัก แต่ก็ยังสามารถสร้างได้จากอุตสาหกรรมค้าอาวุธที่อเมริกายังมาเป็นที่หนึ่ง ถ้าเกิดสงครามนอกจากจะทำให้คลังธนาคารกลางของทั่วโลกยังจะเก็บดอลล่าร์ต่อไปแล้ว ยังจะทำให้อเมริกา “ขายอาวุธสงคราม” รถถัง เครื่องบิน ปืน กระสุน เฮลิคอปเตอร์ ให้กับทั่วโลกได้อีกมากมาย และแน่นอนอเมริกาขายสิ่งเหล่านั้นเป็นเงินดอลล่าร์

... และทั้ง “สงคราม (น้ำมัน )และการค้าอาวุธ” นี่เอง ที่ยังทำให้ประเทศต่างๆทั่วโลกไม่กล้าจะปล่อยเงินดอลล่าร์ออกไป และทำให้สัดส่วนการเก็บเงินดอลล่าร์ยังคงสูงกว่า 61% อยู่ต่อไป

... ไอเอ็มเอฟ ยังบอกต่ออีกว่า นับจากปี 2015 ทั่วโลกเก็บเงินสำรองต่างประเทศไว้ทั้งหมดที่ยอด $11.297 ล้านล้านดอลล่าร์ แต่พอเข้าปี 2017 กลับสะสมมากขึ้นเป็น $11.425 ล้านล้านดอลล่าร์ แปลว่า “ยิ่งมีข่าวสงคราม ก่อการร้าย หรือความไม่มั่นคงทางการเมืองมากขึ้นเท่าไหร่ ประเทศทั่วโลกก็ยิ่งจะสะสมเงินตราต่างประเทศ เช่นดอลล่าร์ ในคลังตัวเองมากขึ้นเท่านั้น” เพื่อเอาไว้ใช้ในยามฉุกเฉินมากขึ้นนั่นเอง

... MF data also showed that global reserves climbed to $11.425 trillion, which was the highest since the second quarter of 2015 and was up from $11.297 trillion in the third quarter.
... The share of dollar reserves has declined for four straight quarters as the greenback weakened in 2017 due to faster growth outside the United States and bets that other major central banks would consider reducing stimulus. Still the dollar has remained the biggest reserve currency by far.

คลิก

Cr. Jeerachart Jongsomchai

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"