เปิด 4 ข้อยกเว้น ชื่อซิม-บัญชีไม่ตรงได้ DES ย้ำโมบายแบงก์กิ้ง ใช้งานได้ปกติ

ดีอีเอส ย้ำ "โมบายแบงก์กิ้ง" ใช้งานได้ปกติ คัดกรอง 120 วัน เปิด 4 ข้อยกเว้น ชื่อซิม-บัญชีไม่ตรงได้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของธนาคาร จากกรณีที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกาศสกัด “บัญชีม้า-ซิมม้า”

อย่างต่อเนื่อง โดย ชื่อบัญชีโมบายแบงก์กิ้ง กับชื่อจดทะเบียนซิมการ์ด ต้องตรงกัน เริ่มตรวจสอบตั้งแต่วันที่ 27 พ.ค. 2567 จึงทำให้เกิดกระแสความกังวลต่อประชาชน
ด้านนายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวถึงการเริ่มมาตรการตรวจสอบซิมการ์ดที่ผูกกับบัญชีธนาคารว่า ขณะนี้เกิดกระแสความกังวลต่อประชาชนในการใช้โมบายแบงก์กิ้งได้นั้นอาจเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เพราะในข้อเท็จจริง ในวันนี้ (27 พ.ค.) จะเป็นการเริ่มกระบวนการตรวจสอบคัดกรองซิมการ์ดที่ผูกกับบัญชีธนาคาร ซึ่งจะใช้เวลาในการตรวจสอบ 120 วัน โดยยังไม่มีการระงับหรือการให้ประชาชนยืนยันตัวตนแต่อย่างใด
กระบวนการนี้เป็นเพียงการตรวจสอบคัดกรองเท่านั้น ยังไม่มีการระงับการใช้หรือให้พี่น้องประชาชนจะต้องยืนยันตัวตนใดๆ ซึ่งนโยบายดังกล่าวเป็นการขอความร่วมมือจากสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) และธนาคาร โดยสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นตัวกลางในการประสานงานกับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในการตรวจสอบข้อมูล
ซึ่งหนึ่งในมาตรการปราบปรามอาชญากรรมออนไลน์ด้วยการปราบซิมม้าและบัญชีม้าที่ใช้หลอกลวงประชาชนดังต่อไปนี้
1. การดำเนินการกวาดล้างซิมม้าที่มีการแจ้งความผ่าน AOC 1441 โดยการปิดกั้นซิมโทรศัพท์มือถือที่เข้าข่ายการกระทำความผิด เดือนละ 15,000 ซิม หรือสัปดาห์ละ 4,000 ซิม
2. การตรวจสอบความต้องตรงกันของหมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้โมบายแบงก์กิ้ง จำนวน 106 ล้านหมายเลข กับชื่อบัญชีธนาคารที่เป็นมาตรฐานสากล โดยเริ่มกระบวนการตรวจสอบวันที่ 27 พฤษภาคม 2567 และจะใช้เวลาตรวจสอบ 120 วัน โดยหลังจากนั้นจะประชาสัมพันธ์มาตรการต่อประชาชนต่อไป
ซึ่งจะมีกรณียกเว้น ได้แก่
1. บุคคลในครอบครัว
2. ผู้อนุบาลตามคำสั่งศาล
3. นิติบุคคล
4. อื่นๆ ที่ธนาคารเห็นว่ามีเหตุอันควรในการใช้ชื่อไม่ต้องตรงกัน
การกำหนดมาตรการและเงื่อนไขการเปิดบัญชีใหม่ เพื่อป้องกันการนำไปกระทำความผิดโดยเพิ่มกระบวนการพิสูจน์ทราบข้อเท็จจริง Customer Due Diligence (CDD) โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยง ธนาคารต้องตรวจสอบให้เคร่งครัดมากขึ้นก่อนอนุมัติเปิดบัญชี โดยทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะมีการออกประกาศภายในเดือนมิถุนายน 2567 ซึ่งปัจจุบันบางธนาคารได้มีการดำเนินการแล้ว
นายประเสริฐ กล่าวว่า กระทรวงดีอีเอส, ปปง., กสทช., สมาคมธนาคารและผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ จะมีการประชุมหารือเพื่อหามาตรการในการดำเนินการภายหลังการตรวจสอบ และเพื่อหาช่องทางในการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน เช่น การยืนยันตัวตนผ่านระบบออนไลน์ เป็นต้น
Source: Springnews

Cr.Bank’s Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"