“รัสเซียกับจีน กำลังจะนำการพิมพ์เงินอิงทองคำกลับมาและปฏิวัติการค้าทองคำโลกใหม่”

หลังจาก ปี 2008 ที่เกิดวิกฤติการเงินและตามมาด้วยวิกฤติเศรษฐกิจใหญ่นั้น ประเทศทั่วโลกร้องมอออต้องการปลดแอกออกจากโซ่ตรวนทางการเงินจาก “เผด็จการทางการเงิน” ของโลกอย่างเงินดอลล่าร์ ยูโร เยน

( เผด็จการไม่ได้มีแค่ทหารรองเท้าบู๊ท แต่ยังมีเผด็จการทางการเงิน เผด็จการทางความคิด Soft power และอีกมากมาย ) และประเทศเหล่านั้นต่างก็เร่งในการสะสมทองคำ ในหลากหลายวิธี หนึ่งในนั้นก็คือการพยายามสร้างเหมืองผลิตทองคำและการเร่งนำเข้าทองคำ

ประเทศที่เป็นผู้นำในการผลิตทองคำอันดับหนึ่งของโลกก็คือ “จีน” เพราะจีนมีแผนการระยะยาวที่จะผลักดันเงินหยวนเป็นอีกเงินสกุลหลักของโลกทั้งในกระแสการค้าโลกและในทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศหรือคลังเงินธนาคารชาติของทั่วโลก ที่ต้องมีความแตกต่างและดึงดูดใจจากผู้คนจากดอลล่าร์ ยูโร เยน จึงต้องมีเสถียรภาพที่ดี จึงต้องอิงทองคำ

ด้วยนโนบายนี้ “จีน” จึงได้ขยายการทำเหมืองทองคำไปทั่วประเทศ และพวกเขาเป็นผู้นำใน “การผลิตทองคำของโลก” มากเป็นอันดับหนึ่งของโลกในตอนนี้ โดยจากข้อมูลของโลกในปี 2016 ที่ทั่วโลกผลิตได้ 3,100 ตันนั้น จีนผลิตได้เองทั้งหมด 455 ตัน ตามมาด้วยออสเตรเลียอันดับสอง ที่จำนวน 275 ตัน และรัสเซียอันดับสาม ที่ 250 ตัน อเมริกามาที่สี่ 209 ตัน และแคนาดามาที่ห้าที่ 170 ตัน

โดยก่อนหน้าปี 2006 นั้น ประเทศอาฟริกาใต้เป็นผู้ผลิตทองคำมากที่สุดของโลกมานานนับสิบปี แต่กระแสทั่วโลกต่างสร้างและกว้านซื้อเหมืองทองคำมากขึ้น โดยเฉพาะหลังปี 2008 ที่เกิดวิกฤติการเงิน ทำให้หลายประเทศพยายามหาทางออกที่จะไปอิงทองคำและสร้างสกุลเงินของตัวเองให้เป็นเงินการค้าของโลก อย่างเช่นหยวน ทำให้เกิดกระแสการสร้างเหมืองทองคำขึ้นทั่วโลก

แต่จีนไม่หยุดแค่นั้น ในประเทศผู้ผลิตทองคำอันดับสองของโลกอย่างออสเตรเลียนั้น ในไตรมาสแรกของปี 2017 ที่ผ่านมาได้ส่งออกทองคำไปที่จีนมากที่สุดที่ 77% หรือคิดเป็น 54.1 ตัน ที่มากขึ้นกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปี 2016 ที่ส่งออกแค่ 37.2 ตัน และในไตรมาสที่สองของปี 2017 ออสเตรเลีย ก็ยิ่งส่งออกไปที่จีนและฮ่องกงมากขึ้นอีก ( ที่สุดท้ายทองคำที่ฮ่องกงส่วนใหญ่ก็ส่งออกไปที่จีนในท้ายที่สุด ) โดยจีนเริ่มนำเข้าทองคำจากออสเตรเลียหนักขึ้นก็เริ่มจากปี 2011 ที่ผ่านมาและมีจำนวนสูงมากขึ้นเรื่อยๆ

As we can see in the chart above, Australia exported 57.4 metric tons (mt) of gold in Q1 2017 compared to 37.2 mt Q1 2016.

ขณะที่ “รัสเซีย” เองเป็นประเทศที่มีอัตราเร่งการสะสมทองคำในทุนสำรองระหว่างประเทศมากที่สุดในโลกในรอบไม่กี่ปีที่ผ่านมา มากกว่า “จีน” ที่แม้จะเป็นผู้นำเข้าทองคำมากที่สุดในโลก แต่ก็เป็นของทั้งภาครัฐและเอกชน เพราะว่าหลังจากจีนผ่อนปรนอนุญาตให้เอกชนสามารถเป็นเจ้าของครอบครองทองคำได้หลังปี 2004 จีนก็นำเข้าทองคำมากขึ้นมากขึ้นเรื่อยๆ แต่เป็นรัสเซียที่มีอัตราเร่งในการกว้านซื้อทองคำเข้าไว้ในธนาคารกลางมากที่สุดในโลกในรอบสามสี่ปีที่ผ่านมา ( The Russian central bank has been by far the largest known regular buyer of gold globally in the past year. ) และเร่งสม่ำเสมอมาเป็นสิบปี และตอนนี้รัสเซียกลายเป็นประเทศที่มีทองคำสะสมในทุนสำรองระหว่างประเทศเป็นอันดับหกของโลกที่ 1,600 ตัน และเป็นผู้ผลิตทองคำอันดับสามของโลก รองจาก จีนและ ออสเตรเลียต่อปี ที่ 250 ตัน

นักวิเคราะห์บอกว่าที่ทั้งคู่เร่งผลิตและซื้อทองคำมากด้วยอัตราเร่งสูงนั้นก็เพราะว่า “จีนกับรัสเซีย” กำลังมีแผนการระยะยาวในการนำการมาตรฐานผลิตเงินที่มีทองคำค้ำกลับมาในการค้าและการเงินของโลกอีกครั้ง เพื่อความเป็นเอกราชการการเงิน การค้า จากดอลล่าร์และเงินกระดาษที่ไม่มีทองคำหนุนหลังอีกต่อไป ถึงขนาดที่เมื่อ 16 มีนาคม 2017 ธนาคารกลางของรัสเซียได้เปิดสาขาที่กรุงปักกิ่งเพื่อจะขยายการทำธุรกรรมทางการเงินที่ไม่ผ่านดอลล่าร์ โดยใช้แค่เงินหยวนและรูเบิ้ล ที่เป็นครั้งแรกที่ธนาคารกลางของรัสเซียไปเปิดในต่างประเทศ ที่ปรกติจะเป็นธนาคารของเอกชนเท่านั้น

Could the increase in Chinese gold imports suggest they are setting the state for a new Gold-Back Currency or Trade? According to the recent article on Zerohedge, Moscow And Beijing Join Forces To Bypass US Dollar In Global Markets, Shift To Gold Trade:

ในประเทศผู้ผลิตทองคำทั้งหลายนั้น นอกจากจีนจะนำเข้าทองคำ จากออสเตรเลียผู้ผลิตอันดับสองแล้ว ยังนำเข้าจากรัสเซียผู้ผลิตอันดับสาม จากกานาอันดับ 11 และประเทศอาฟริกามากมายหลายประเทศ จนทำให้นักวิเคราะห์สื่อนอกกระแสบอกว่าโรคระบาดอีโบล่าและความขัดแย้งระหว่างคนกาน่าท้องถิ่นที่บางส่วนต่อต้านนายทุนจีนที่มาทำเหมืองในกาน่านั้น อาจจะเป็นการสร้างกระแสเพื่อสกัดขัดขวางการสะสมทองคำของจีนในภาพกว้างได้ของฝ่ายตรงข้ามที่เสียผลประโยชน์จากการที่ทองคำราคาดี

เมื่อปลายปีที่แล้ว “จีน” และ “รัสเซีย” ประกาศว่าจะมีการก่อตั้งมาตรฐานการซื้อขายทองคำของโลกใหม่ ที่ไม่อิงกับตลาดของฝั่งอเมริกาและบริวารโดยจะเริ่มในระดับบทวิภาคีก่อนแล้วค่อยขยายวงกว้างออกไป เพราะบอกว่าราคาทองคำของโลกปัจจุบันไม่ได้สะท้อนต่อปริมาณทองคำจริง ,การค้าโลกและตลาดโลกที่เป็นจริง ( เพราะเกิดจากการปั่น ทุบ เหยียบ กดหัวมุดชักโครกราคาทองคำไว้ โดยธนาคารกลาง และ ธนาคารใหญ่ของประเทศอีกฝ่าย ) จึงจำเป็นต้องสร้างระบบใหม่ที่มาทดแทนหรือเป็นอีกทางเลือกใหม่ ที่ระบบใหม่นี้จะสะเทือนไตประเทศมาเฟีย “เผด็จการค้าทองคำ” เดิมผู้กำหนดราคาทองคำเก่าๆ เช่น ตลาดในนิวยอร์ค ลอนดอน อย่าง OTC, COMEX ที่มีทองคำหนุนจริงน้อยมาก ที่เหลือเป็นแค่ทองคำกระดาษแล้วปั่นกันไปมาอย่างหนุกหนานตลอดปีตลอดชาติโดยมาเฟียเจ้าเดิม

Such a system would also be a threat to gold trading markets in London and New York. OTC and COMEX trade derivatives on gold, and are backed very little physical gold. Major BRICS gold producers, mainly Russia and China,

could change the way the international gold prices are set currently

ที่นักวิเคราะห์เคยบอกว่า นี่คือสาเหตุที่แท้จริงอย่างหนึ่งในการที่รัสเซียถูกแบนจากยุโรปโดยการชี้นำของอเมริกา รวมทั้งการถูกสร้างความขัดแย้งขึ้นในทะเลจีนใต้และคาบสมุทรเกาหลี เพราะปลายทางนั้นพวกเข้าต้องการเล็งและยิงเป้าใหญ่คือ “จีนกับรัสเซีย” นั่นเอง

http://en.people.cn/n3/2017/0721/c90000-9244942.html 

https://www.rt.com/business/411763-russia-china-set-gold-price/ 

https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_gold_production 

https://seekingalpha.com/article/4032241-another-big-increase-russian-gold-reserves-november 

https://www.moneymetals.com/news/2017/07/20/australia-exports-gold-to-china-001117 

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"