การจัดสรรเงินสำหรับการลงทุน (2)

เราควรที่จะต้องมีเงินเท่าไหร่? เงินจำนวนเดียวกันในแต่ละช่วงเวลามีค่าไม่เท่ากัน ถ้ากำหนดให้ปัจจัยอื่นๆคงที่ โดยปกติแล้วมูลค่าของเงินก็จะลดลงเนื่องจากเงินเฟ้อ ทำให้เราต้องการคำนวณจำนวนเงินที่จะมีมูลค่าเท่าเดิมจึงต้องคิดเงินเฟ้อรวมเข้าไปด้วย

เป้าหมายทางการเงินในระยะกลาง

ในระยะเวลาเช่น 5 ปี เราอาจจะไม่เห็นความแตกต่างของมูลค่าเงินมากนัก และจำนวนเงินก็เป็นจำนวนที่ไม่มาก การตั้งเป้าหมายจึงพออนุโลมที่จะไม่คำนวณเงินเฟ้อเข้าไปด้วยได้

เป้าหมายทางการเงินในระยะยาว เช่นการเกษียณ

เราจะเริ่มต้นจากคาดการว่าเราอยากจะเกษียณอายุเท่าไหร่ มีวิถีชีวิตแบบใดเมื่อเกษียณแล้วคิดถึงค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นเป็นจำนวนเท่าไหร่ ณ ปัจจุบันเช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าซ่อมบ้าน ค่าอาหาร ผ่อนรถ ท่องเที่ยว ฯลฯ จงซื่อสัตย์กับตนเอง

ต่อมาคาดการเงินเฟ้อเพื่อความถูกต้องมากขึ้นเงินเฟ้อที่จะนำมาคำนวณเป้าหมายในระยะยาวควรมาจากสัดส่วนประเภทค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นคูณกับอัตราเงินเฟ้อของกลุ่มสิ้นค้าและบริการนั้น แล้วนำทั้งหมดมาบวกกัน

สมมุติผมอายุ 35 ปี ต้องการเลิกทำงานเมื่ออายุ 60 ปี คาดว่าจะเสียชีวิตเมื่ออายุ 80 ปี ต้องการเงินเพื่อใช้ต่อเดือน 40,000 บาทประมาณ 500,000 บาทต่อปี ในมูลค่าปัจจุบัน ผมจะต้องมีสินทรัพย์เท่าไหร่เมื่ออายุ 60 ปี

500,000*20*(1+0.03)35 = 28,138,625 บาท ประมาณ 28 ล้านบาท

จำนวนเงินที่ต้องใช้ต่อปี ณ มูลค่าปัจจุบัน*จำนวนปีที่จะใช้เงิน*(1+อัตราเงินเฟ้อ)ยกกำลังด้วย(อายุ 10 ปีก่อนที่คาดว่าจะเสียชีวิต – อายุปัจจุบัน)

ถ้าผมมีเงินเก็บ 4 ล้านบาทตอนอายุ 60 ปี ผมจะมีเงินใช้ 6,000 บาทต่อเดือนในมูลค่าปัจจุบัน

ถ้าตอนนี้ผมอายุ 60 ปี มีเงิน 4 ล้านบาท ผมจะสามารถใช้เงินได้ 16,667 บาทต่อเดือนถ้าผลตอบแทนเท่ากับเงินเฟ้อพอดี

จำนวนเงินที่คำนวณได้มันเยอะ ทำให้มีคนจำนวนมากหลอกตัวเองว่า พอแก่แล้ว อายุ 60 แล้วก็ไปไหนไม่ไหวแล้ว อยู่แต่บ้านกินอะไรก็ได้ง่ายๆมีเงิน 1 ล้านก็พอ แต่ตอนนี้ กินกาแฟแก้วละร้อยกว่าบาท อาหารมื้อละพัน เที่ยวต่างประเทศทุกปี เป็นหนี้หัวบาน ความอยากทุกๆอย่างคงจะหายไปหมดเมื่ออายุ 60 ปี

แต่หนี้ไม่หายนะครับ

คุณพ่อคุณแม่ผม อายุ 60 – 70 ปีแล้ว ท่านก็ยังอยากไปเที่ยวต่างประเทศ นั่งร้านอาหารดีๆ กินกาแฟแพงๆ ซึ่งเราเองก็คงไม่ต่าง

ผมกำลังจะบอกว่า อย่าหลอกตัวเองว่าควรจะต้องมีเงินเท่าไหร่ตามที่ผู้เชี่ยวชาญบอกหรือ โฆษณาเพราะปัจจัยและความต้องการของแต่ละคนไม่เหมือนกัน และสิ่งที่คำนวณเป็นการคาดการทั้งหมด บางปัจจัยที่อาจเกิดขึ้นจะทำให้การคำนวณมาทั้งหมดใช้ไม่ได้เลยก็ได้ ผมจึงย้ำอยู่เสมอว่าเราต้องทบทวนแผนทุกๆครึ่งปีเป็นอย่างน้อย

ทางเลือกที่มี

ถ้าผมต้องการรายได้ 500,000 บาทต่อปี เมื่ออายุ 60 ปี เมื่อรวมเงินเฟ้อเข้าไป จะกลายเป็น 1,4100,000 บาทต่อปี

- ทำงานหารายได้ โดยไม่ต้องเกษียณ

- หาเงินก้อนมาฝากธนาคารกินดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต้องมีสินทรัพย์ 23 ล้านบาท จะใช้เงินหมดพอดีตอนอายุ 80 ปีห้ามอยู่เกิน ลดลงมา 5 ล้านแล้ว

- ลงทุนให้ได้ผลตอบแทน 5 % ต่อปี ต้องมีสินทรัพย์ 17.6 ล้านบาท จะใช้เงินหมดพอดีตอนอายุ 80 ปีห้ามอยู่เกิน ลดลงมา 9.4 ล้านแล้ว หรือมีสินทรัพย์ 28 ล้านบาท แล้วกินปันผลโดยเงินต้นไม่ลด

- ลงทุนให้ได้ผลตอบแทน 10 % ต่อปี ต้องมีสินทรัพย์ 14.1 ล้านบาท แล้วกินปันผลโดยเงินต้นไม่ลด ลดลงมา 14 ล้านแล้ว

นี่หรือเปล่าคือมูลค่าของความรู้ทางด้านการเงิน การลงทุนที่ถูกต้อง ของส่วนลดจากเงินที่ต้องมีสำหรับเกษียณ ยังไม่รวมถึงโอกาสที่จะสามารถเลิกทำงานได้ก่อน 60 ปี ถ้าเราประสบความสำเร็จในการลงทุน

ลดความสุข ความมันส์ในชีวิตจากการใช้เงินลงบ้าง ทำรายรับรายจ่าย เก็บออม ปลดหนี้ และลงทุน ถ้าคุณปลดหนี้ยังไม่ได้ ก็เลิกคิดเรื่องจะหยุดทำงานไปได้เลย

ADMIN สรธร # SORATHORN WATTANAMALACHAI#DINOTECH5.0

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"