1. รู้จักตนเอง ทำรายรับรายจ่าย : การทำรายรับรายจ่ายเป็นเรื่องที่ง่ายมีประโยชน์มาก แต่ไม่ค่อยมีใครทำเพราะน่าเบื่อ มองไม่เห็นถึงประโยชน์ของบัญชีรายรับรายจ่าย การลงมือทำจะทำให้เรารู้ว่าแต่ละวันเราใช้เงินไปกับอะไรบ้าง
เป็นสัดส่วนเท่าไรของรายรับต่อเดือน และเมื่อคิดเป็นต่อปีแล้วเราจะเห็นว่าเราใช้เงินกับอะไรมากเกินไป อะไรที่เราคิดว่าเป็นสิ่งฟุ่มเฟือยที่สามารถลดลงได้ ทำให้เรามีเงินเก็บมากขึ้น หรือจากที่ไม่มีเงินเก็บก็สามารถเก็บเงินได้ เนื่องจากถ้าเรามิได้มีเงินก้อนที่ได้มาจากคุณพ่อคุณแม่แล้ว เงินออมนี่แหละที่เราสามารถจะใช้ลงทุน
จัดสรรเงินออม
เมื่อเรามีเงินออม ควรแบ่งเป็นสามส่วน
1. ค่าใช้จ่ายจำเป็นฉุกเฉิน 3-6 เท่า ของเงินเดือน
2. เงินกันสำรองใช้จ่าย 6 เท่าของเงินเดือน
3. เงินลงทุนมาจากเงินส่วนเกินที่กันสำรองไว้แล้ว
มองตนเองในด้านความสามารถในการรับความเสี่ยง
เราสามารถรับความเสียหายจากการลงทุนได้มากน้อยแค่ไหน ลงทุนได้ระยะเวลายาวนานเท่าใด และการลงทุนชนิดใดที่ เราสนใจ ความสามารถในการรับความเสี่ยงนี้ยังขึ้นกับปัจจัยอื่นๆเช่น รายได้ หนี้สินที่เรามี สัดส่วนค่าใช้จ่ายประจำ สินทรัพย์สภาพคล่อง แนวโน้มรายได้ และค่าใช้จ่ายในอนาคต ความรู้ทางด้านการลงทุน และบริหารความเสี่ยงที่ของเรา
เป้าหมายของเราในแต่ละช่วงชีวิต
ระยะสั้น เงินดาวน์ซื้อบ้านซื้อรถ ไปเที่ยว ซื้อของที่อยากได้
ระยะกลาง เก็บเงินเพื่อมีลูก ต้องการชำระหนี้สินทั้งหมด
ระยะยาว การเกษียณอายุ ค่าการศึกษาบุตรปริญญาโท เอก
พิจารณาขีดความสามารถของตน
เมื่อเราทำตามขั้นตอนต่างๆเสร็จแล้ว ให้เรานั่งอ่านแผนการจัดสรรเงินของเราทบทวนหลายๆครั้งแล้ว จดออกมาว่าเราไม่มีความรู้ตรงไหน ศึกษาเองดีไหม หรือหาใครช่วย แผนที่เราวางไว้มีโอกาสสำเร็จมากน้อนแค่ไหน อะไรคือความเสี่ยงที่จะทำให้แผนเราไม่สำเร็จ โอนความเสี่ยงออกไปได้ไหม หรือทำอย่างไรที่จะเพิ่มโอกาสความสำเร็จ
กระบวกการที่เขียนด้านบนเป็นกระบวนการที่ต้องทำซ้ำๆ อย่างน้อยทุกๆครึ่งปี เนื่องจากความต้องการของคนเรานั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เพื่อพิจารณาว่าเป้าหมายของเรายังเหมือนเดิมอยู่ไหม และเรายังมีโอกาสทำสำเร็จอยู่หรือเปล่า
ผมไม่สามารถระบุตัวเลข หรือสัดส่วนในการวางแผนได้เลย ตัวเลขที่ผมระบุก็เป็นเพืยงตัวเลขคร่าวๆเท่านั้น เนื่องจากแต่ละคนมีเงื่อนไขต่างๆ และความต้องการที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นแต่ละคนจะมีแผนการจัดสรรเงินที่เหมาะสมไม่เหมือนกันแต่ละคนควรลงมือทำด้วยตนเอง และจะยิ่งดีถ้ามีคนที่สามารถวางแผนการเงินได้มาทำแผนให้เรา และเราก็เปรียบเทียบว่าแผนของนักวางแผนการเงินต่างจากของเราอย่างไร และถามนักวางแผนการเงินว่าทำไม
การที่คุณมีนักวางแผนการเงิน หรือที่ปรึกษาการลงทุนเป็นผู้ช่วยแล้ว นอกจากที่คุณจะได้แผนการลงทุน หรือการเงินที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ แต่ยังได้ความรู้ทางด้านการเงิน การลงทุน จากเขา ผ่านคำถามที่คุณถาม และการตัดสินใจสุดท้ายของคุณจะดีขึ้น
จงยอมรับเถอะว่าไม่มีใครดูแลเงินคุณได้ดีกว่าคุณเอง ทุกๆการตัดสินใจคุณต้องยอมรับในผลที่จะเกิดขึ้น ดังนั้นสิ่งที่คุณจำเป็นต้องมีคือความรู้ ความรู้ที่คุณจะได้จากนักวางแผนการเงิน การลงทุนของคุณ ถ้าเป็นความรู้ที่ถูกต้องมันมีค่ามากกว่าแผนการเงินที่ดีเลิศเลอเสียอีก เพราะแผนทางการเงินการลงทุนมีโอกาสเปลี่ยแปลงได้ตลอดเวลา ถ้าปัจจัยต่างๆเปลี่ยนไป
จุดประสงค์ขอบทความนี้ ผมอยากให้ทุกๆคนลงมือทำ สิ่งที่เขียนในบทความไม่ได้เป็นความรู้ใหม่อะไรเลยแทบจะพูดได้ว่าทุกๆคนก็รู้กันอยู่แล้ว แต่มีคนลงมือทำจริงๆสักกี่คน สักกี่คนที่เห็นประโยชน์ของมัน ทุกๆคนรู้ว่ามันดีแต่ไม่ทำ
ทุกๆอย่างในชีวิตที่เราทำผิดพลาดโดยที่เราไม่รู้ คนที่รู้จะด่าว่าเราโง่ก็ไม่น่าแปลใจแค่ยอมรับมันหรือเปล่า แต่สิ่งที่เรารู้อยู่แล้วแต่ไม่ลงมือทำเพื่อป้องกันจนกระทั่งมันกลายเป็นปัญหาขึ้นในชีวิตเรา เราควรด่าตัวเองว่าอะไร..........
ด้านรายรับรายจ่าย การจัดสรรเงินออม และ เป้าหมายระยะสั้นนั้นผมคิดว่าทุกๆคนสามารถทำได้เอง ในส่วนของเป้าหมายระยะกลาง-ยาวนั้นผมขออนุญาต เขียนวิธีการคำนวนออกมาให้เป็นตัวเลขในบทความหน้านะครับเนื่องจากเราจะต้องนำเงินเฟ้อเข้ามาคำนวณด้วย
ADMIN สรธร # SORATHORN WATTANAMALACHAI
#DINOTECH5.0
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman