ธปท.เร่งหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำกับดูแลสถาบันการเงินให้บริการรับชำระเงินด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล หว่งสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่มีสินทรัพย์หนุนหลัง(Blank Coin)ที่มีความเสี่ยงสูง ย้ำไม่สนับสนุนให้ใช้ชำระสินค้าและบริการ
เตรียมออกงานวิจัยเรื่องภูมิทัศน์ทางการเงินภายในไตรมาศมาศ 1 ปี 2565 ซึ่งจะมีสินทรัพย์ดิจิทัลอยู่ด้วย ที่ยังคงให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีมาพัฒนานวัตกรรมทางการเงิน
นางชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบริหารการสื่อสารองค์กร นายสังกกะภพ พันธ์ยานุกุล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)เปิดเผยถึงการใช้ทรัพย์สินดิจิทัลเพื่อการชำระสินค้าและบริการ ว่า ธปท.กำลังศึกษาและติดตามสถานการณืสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างใกล้ชิต โดยเร่งหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารารูปแบบการกำกับดูแลการให้บริการรับชำระค่าเงินค้าและบริการด้วยเงินดิจิทัล เพื่อจำกัดความเสี่ยง ในขณะเดียวกันยังคงให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีมาพัฒนานวัตกรรมทางการเงิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยของระบบการชำระเงิน รวมถึงการรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจการเงินโดยรวม
ในช่วงที่ผ่านมามีการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลในการชำระสินค้าและบริการกันบ้างแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นลักษณาชำระเงินในวงจำกัด ซึ่งผู้ใช้จะต้องรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ส่วนใหญ่เข้าใจถึงความเสี่ยงอยู่แล้ว แต่ในส่วนของการชำระสินค้าของสถาบันการเงินนั้นยังไม่มีการใช้ชำระเงินโดยตรง ซึ่งธปท.ได้ติดตามอย่างใกล้ชิต รวมทั้งสถาบันการเงินหลายแห่งได้เข้ามาหารือถึงกฏระเบียบและรูปแบบของการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลตลอดเวลา
“การที่มีการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลชำระสินค้าและบริการนั้น ไม่ถือว่าผิดกฎหมาย สามารถทำได้ ธปท.ไม่ได้ห้าม แต่ขอให้ระมัดระวัง ถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ซึ่งมีการผันผวนอย่างมาก ผู้ใช้ต้องรับความเสี่ยงเอง อีกทั้งส่วนใหญ่ทำกันในวงจำกัด อีกทั้งการใช้ชำระสินค้าและบริการโดยทั่วไปอาจจะทำได้ยาก เพราะสินทรัพย์ดิจิทัลจะต้องเป็นรูปแบบเดี่ยวกันเพื่อมาชำระ หากดต่างรูปแบบจะเกิดบัญหาเรื่องของการทำบัญชี ระบบแลกเปลี่ยน ปัญหาอื่นๆอีกมาก ดังนันธปท.จึงไม่ค่อยกังวลมากนัก”นางชญาวดี กล่าว
อย่างไรก็ตามธปท.เตรียมที่จะออกภูมิทัศน์ทางการเงิน ที่จะเป็นภาพรวมของระบบการเงินในอนาคตระยะ 3-5 ปีข้างหน้า ที่จะออกภายในไตรมาศ 1 ของปี 2565 ซึ่งจะมีการรวมกฏระบบรูปแบบกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลในการชำระสินค้าและบริการ รวมอยู่ด้วย โดยธปท.ต้องพิจารณาโดยภาพกว้าง เพราะสินทรัพย์ดิจิทัลมีทั้งผลดีและผลดีอยู่ด้วยกัน
ประโยชน์ของสินทรัพย์ดิจิทัลและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ภาคประชาชนและภาคธุรกิจ จะช่วยพัฒนาประสิทธิภาพบริการทางการเงินที่ปัจจุบันเป็น pain points points ของไทย เช่น ลดต้นทุนการโอนเงินระหว่างประเทศ หรือเพิ่มรูปแบบการลงทุนหรือระดมทุนให้รองรับความต้องการที่หลากหลาย เพิ่มโอกาสการแข่งขันจากผู้เล่นรายใหม่ / ลด barrier to entry entry จากเทคโนโลยี Blockchain ต่อยอดนวัตกรรมจากsmart contract contractเพื่อกาหนดเงื่อนไขที่ต้องการในการช่วยลดต้นทุน เพิ่มความสะดวกปลอดภัยในการทาธุรกิจ และเพิ่มบริการให้หลากหลายขึ้น
ภาคเศรษฐกิจการเงินในภาพรวม การใช้นวัตกรรมจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนและสนับสนุนการเติบโตได้ทั่วถึง ช่วยกระจายทรัพยากรไปยังคนที่ต้องการได้อย่างเหมาะสม ภาคการเงินมีบริการที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพ ต้นทุนต่า ซึ่งตอบโจทย์ผู้บริโภคได้หลากหลายกลุ่ม
สำหรับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อชำระค่าสินค้าและบริการผลกระทบต่อผู้บริโภค (Consumer Protection)ความผันผวนด้านราคา มาตรฐานด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวกับการใช้ชาระ ภัยทางไซเบอร์ ข้อมูลส่วนบุคคล และอาจถูกใช้เป็นเครื่องมือในการฟอกเงิน ผลกระทบต่อสาธารณชนทั่วไปและเสถียรภาพโดยรวม เสถียรภาพระบบการชำระเงิน ที่จะทำระบบบัญชีอย่างไร การแลกเปลี่ยนชำระเงินที่เป็นรูปแบบไหน ส่วนเสถียรภาพด้านการเงิน หากมีการใช้สินทรัพยดิจิทัลมากขึ้น การควบคุมกำกับดูแลของธปท.จะยากขึ้น
Source: ผู้จัดการออนไลน์
Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
----------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you