ยุทธศาสตร์ 100 ปี ภายใต้การนำของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้ประกาศ ”ความฝันของชาวจีน” ไว้ในยุทธศาสตร์ 100 ปี ว่า 100ปี แรก คือ 100ปี ครบรอบพรรคคอมมิวนิสต์ (ปี 2021) “ ประเทศจีนจะปราศจากความยากจน“
อย่างน้อยที่สุดคือประชาชนต้องมีกินมีอยู่ และใน 100 ปีที่สอง คือ ช่วงครบรอบ 100 ปี สาธารณรัฐประชาชนจีน (ปี 2049) จีนตั้งเป้าหมายให้ประเทศเป็นสังคมที่อุดมสมบูรณ์มั่งคั่ง และมีการพัฒนาเจริญรุดหน้าไม่แพ้ชาติตะวันตก หากเราลองมองย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีที่แล้ว จะเห็นได้ว่า หนทางแห่ง 100 ปี แรก มันยังดูเลือนรางเหลือเกิน ในขณะนั้นผู้ประกอบการประเทศไทยจำนวนไม่น้อยได้ย้ายฐานการผลิตไปที่จีน เหตุผลจากต้นทุนค่าแรงที่ถูกกว่า สินค้าที่ตีตราว่า made in china ยังไม่เป็นที่ยอมรับเพราะคุณภาพต่ำ และจีนแข่งขันกับตลาดโลกโดยการดั๊มราคาสินค้า แต่ในวันนี้จีนได้เปลี่ยนทิศทางการเดินเกมอย่างสิ้นเชิง ด้วยการส่งเสริมการศึกษาด้านเทคโนโลยี พร้อมการสนับสนุนเงินทุนอย่างไม่อั้นของรัฐบาลจีนให้แก่ธุรกิจเกิดใหม่ ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีในทุกด้านของจีนเติบโตอย่างรวดเร็วจนรุดหน้าเป็นเบอร์ 1 ของโลก ดินแดนมังกรกลับมาผงาดขึ้นอีกครั้ง
One Belt One Road – เส้นทางสายไหม กระดูกสันหลังของเศรษฐกิจจีน
จัดเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญของจีน จีนได้พยายามเชื่อมต่อกับประเทศต่าง ๆ ทั่วทุกมุมโลกโดยการพัฒนาเส้นทางคมนาคมทั้งทางบก น้ำ และอากาศ ที่เห็นเด่นชัดในหลายปีที่ผ่านมาคือระบบรถไฟความเร็วสูง ที่เชื่อมต่อกันภายในประเทศและเชื่อมต่อไปยังทวีปต่าง ๆ ของโลก อนึ่งเพื่อให้ความเจริญเข้าไปสู่ประชาชนที่อยู่ห่างไกลตัวเมืองอย่างทั่วถึง และเพื่อระบายสินค้าที่ over supply ไปยังทั่วโลก เส้นทางสายไหมนอกจากจะมีความสำคัญด้านการค้าของจีนแล้ว ยังสำคัญต่อระบบพลังงานของจีนอีกด้วย เนื่องจากการขยายตัวที่รวดเร็วของเศรษฐกิจจีน ทำให้รัฐบาลของต้องจัดหาแหล่งพลังงานให้เพียงพอ เส้นทางสายไหมจะทำให้ระบบการขนส่งพลังงานมายังจีนเป็นไปได้ง่ายขึ้นและต้นทุนต่ำลง
เส้นทางสายไหมภายในประเทศจีน และเชื่อมไปยังทวีปต่าง ๆ
World's Technology Leader
ต่อมาจีนได้ตระหนักว่าการที่ประชาชนของตนผลิตสินค้าและแข่งขันด้านราคาอย่างเดียวมันไม่ตอบโจทย์ด้านความยั่งยืน จีนจึงจะได้เปลี่ยนลุคของตนเองใหม่ โดยต่อไปนี้ จีนจะพัฒนาอุตสาหกรรมไฮเทคที่จะผลิตสินค้าและบริการที่เป็นนวัตกรรม และจะต้องดีที่สุดในโลก เศรษฐกิจจีนจะเติบโตจากการขับเคลื่อนทางด้านเทคโนโลยีเพื่อไปถึงจุดนั้นจีนตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะเป็นประเทศแห่งนวัตกรรมภายในปี 2020 และจะเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมของโลกในปี 2030 รัฐบาลจีนได้ลงทุนใน R&D ทางด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง และอัดฉีดงบประมาณสูงถึง US $203.2 billion (2014) ประมาณ 2% ของ GDP จีน ส่งผลให้ประเทศจีนมีจำนวนนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ และวิศวกรเกิดขึ้นจำนวนมาก ส่วนทางด้านผู้ประกอบการของบริษัทต่างๆ ในจีนตอบรับที่จะให้ความสำคัญกับ R&D ไปในทิศทางเดียวกัน มีผลสำรวจว่ามากกว่า 62% ของผู้บริหารมีแผนที่จะใช้ 6% ของรายได้บริษัทในการ R&D ในขณะที่บริษัท Huawei ใช้งบประมาณประมาณ 12% ของรายได้ในการ R&D และแล้วเมล็ดพันธุ์ที่จีนหย่อนไว้เริ่มผลิดอกออกดอกออกผลแล้วในวันนี้
หากเส้นทางสายไหมคือ กระดูกสันหลังของเศรษฐกิจจีน e-Payment หรือการจ่ายเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ก็เป็นเสมือนเลือดที่หล่อเลี้ยงระบบเศรษฐกิจของจีนนั่นเอง เพราะข้อดีของ E-payment คือ ทำให้ผู้คนซื้อง่ายขายคล่อง นอกจากจะเป็นส่วนช่วยผลักดันให้ E-commerce โตแล้ว e-payment จีนยังสร้าง fashion ใหม่ของโลก ที่เรียกว่า E-wallet คุณไม่ต้องใช้เงินสดเพื่อช็อปปิ้งอีกต่อไป แต่จะใช้ QR Code จากมือถือแทน แสกนปุ๊ป เงินวิ่งจากบัญชีผู้ซื้อไปยังบัญชีผู้ขายทันที ซึ่งปัจจุบันกระแส E-wallet ในจีนมีการผลักดันไปสู่ร้านค้าที่เป็น offline มากขึ้น กล่าวคือ ร้านค้าข้างทาง ร้านค้าในตลาดต่างๆ หรือ แม้กระทั่งขอทานในจีน ก็ใช้ QR Code ในการซื้อขายสินค้า ล่าสุด Alipay เพิ่งพัฒนาระบบการจ่ายเงินโดยใช้การสแกนใบหน้าซึ่งกำลังทดลองระบบใน KFC สาขาเมืองหังโจว มณฑลเจ้อเจียงแล้ว
รัฐบาลจีน ให้ความสำคัญกับการผลักดันระบบ E-payment มาก เพราะเป็นการนำเงินสดเข้าสู่ระบบ สามารถตรวจสอบที่มาที่ไปของเงินได้ง่าย และที่สำคัญคือ การหลีกเลี่ยงภาษีย่อมทำได้ยากขึ้น เมื่อรัฐบาลเก็บภาษีจากเงินที่ multiple ในระบบอย่างมหาศาลได้นั้น ย่อมนำไปพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและใช้จ่ายในด้านอื่นๆ เพื่อต่อยอดให้กับประเทศได้อย่างมาก คนจีนใช้ e-payment มากเป็นอันดับหนึ่งของโลก ผ่าน wechat (Tencen), Alipay(Ant Finacial) และอื่นๆ เช่นUnionPay, ICBC e-wallet, JD Pay/Wallet (of JD.com) ประมาณ 40% ของประชากรจีน ใช้วิธีการจ่ายเงินแบบ E-payment เปรียบเทียบกับประเทศสิงค์โปร์ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นศูนย์กลางทางการเงินของโลก ประชากรที่ใช้ e-payment มีแค่ 4% จนนายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์เองยังยอมรับว่าระบบ e-payment ของสิงคโปร์ยังล้าหลังกว่าจีนมาก เปรียบเสมือนคนบ้านนอกกับคนกรุงเลยทีเดียว
หรือ การดำเนินธุรกิจโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ก่อให้เกิดระบบการค้าไร้พรมแดนของจีนทำให้ธุรกิจของจีนทั่วภูมิภาคของประเทศสามารถขายสินค้าไปได้ทั่วโลก โดยไม่มีหน้าร้าน และไม่ต้องพึ่งพาระบบพ่อค้าคนกลาง ยกระดับธุรกิจของจีนในทุกภาคส่วน แม้อยู่ห่างไกลจากตัวเมือง E-commerce นอกจากจะเป็นช่องทางในการซื้อขายสินค้าแล้ว ยังเป็นการให้บริการทางการเงินออนไลน์แบบครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นการกู้ยืมเงิน (peer to peer lending platforms) การซื้อขายธุรกรรมประกันออนไลน์ การลงทุน ล้วนทำได้ผ่านปลายนิ้ว e-commerce ที่เป็นกระแสโด่งดังที่สุดของจีนในตอนนี้คือ Alibaba ของ Jack Ma นั่นเอง
บริษัท E-commerce เข้ามาเป็นผู้เล่นหลักแทนธนาคารในการปล่อยกู้ให้กับ SMEs โดยการปล่อยกู้ให้กับ suppliers ที่เป็นคู่ค้า ของบริษัทโดยจะใช้ประโยชน์จากข้อมูลการค้าบนแพลตฟอร์มของบริษัทตนเอง บริษัท e-commerce เหล่านี้ได้แก่ ได้แก่ Ant Financial และ MyBank (Alibaba) WeBank กับ WeChat (Tencent) JD Finance (JD.com) และ Gome Electronic Appliance ยกตัวอย่างเช่น บริษัท A เป็นคู่ค้าการซื้อ-ขายออนไลน์กับบริษัท Alibaba มียอดขายที่ดี มีประวัติทางการเงินที่ดี Alibaba ก็จะทำการเก็บข้อมูลเก็บไว้แล้วให้คะแนน หากบริษัท A ต้องการกู้เงินผ่าน MyBank ก็จะทำได้ง่าย และอนุมัติได้รวดเร็ว
Peer-to-peer (P2P) lending platforms
แพลตฟอร์ม P2P สร้างตลาดสำหรับเพื่อนฝูงที่จะให้กู้ยืมแก่บุคคลและ SMEs ที่ด้อยโอกาสจากระบบการกู้ยืมแบบดั้งเดิม(ระบบธนาคาร) เปิดโอกาสให้ชนชั้นล่างและชนชั้นกลางเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น ผู้นำตลาดคือ Lufax (Ping An Insurance), Yirendai (CreditEase), Rendai, Zhai Cai Bao (Alibaba) และ Dianrong (ผู้ร่วมก่อตั้ง Lending Club) อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ P2P ได้ที่ DinoTech Stockbattle : ตอนธุรกิจแพลตฟอร์มอัจฉริยะปล่อยกู้-ยืมเงินไร้คนกลาง Peer-to-Peer (P2P) lending platform
Rising in Robotic
เพื่อรองรับปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และสังคมผู้สูงอายุที่จะเกิดในวันข้างหน้า และเพื่อลดต้นทุนค่าแรงที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องของจีน จีนได้นำเข้า Robotic มาใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากขึ้น ทำให้จีนเป็นตลาดที่บริโภคหุ่นยนต์ใหญ่ที่สุดในโลก และต่อมาจีนก็พัฒนาบทาทมาเป็นผู้ผลิตตลาดหุ่นยนต์เพื่อบริโภคและส่งออกเสียเอง โดยรัฐบาลจีนวางเป้าหมายที่จะผลิตหุ่นยนต์ที่มีตรา Made in China ให้ได้ถึง 100,000 ตัว ภายในปี 2020 (จาก33,000 ในปี2015) และมีนโยบายสนับสนุนให้บริษัทผู้ผลิตหุ่นยนต์ หรือบริษัทที่ใช้ระบบอัตโนมัติในการประกอบอุตสาหกรรม สามารถขอกู้วงเงินในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ มีการผ่อนผันภาษี และเอื้อประโยชน์ในเรื่องของที่ดินปลอดค่าเช่า ด้วยการสนับสนุนเหล่านี้ทำให้อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ในจีนเติบโตอย่างรวดเร็วและมีข้อได้เปรียบกว่าคู่แข่งมาก
มองย้อนกลับมา แล้วประเทศไทย 4.0 ล่ะ จะไปถึงไหน??? หากหน่วยงานรัฐและภาคเอกชนยังคงทำงานแบบ 0.1 เราก็คงได้แต่มองคนอื่นเค้าไกล ๆ ต่อไป
ผู้เขียน ไดโนล้านปี # Dinotech 5.0
https://tradingeconomics.com/china
http://english.gov.cn/state_council...
https://www.thairath.co.th/content/622086
https://www.techinasia.com/alibaba-launches-online-bank-mybank
www.ey.com
www.nyse.com
www.nextbigfuture.com
https://line.me/R/ti/p/%40brandname3j
Line ID:@brandname3j
- + - + - + - + - + - + - + - + - +
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman