ตลาดอสังหาริมทรัพย์ออสเตรเลียกำลังจะฟองสบู่แตก

หลังจากที่ราคาบ้านอพาร์ทเม้นท์ของออสเตรเลียขึ้นสูงมาหลายปี ตอนนี้นักวิเคราะห์บอกว่าจะมาถึงจุดที่ต้องตกลงมาแล้ว หลังจากที่ราคาขายเริ่มตกลงเพราะขายไม่ออก บ้านคอนโด อพาร์ทเม้นท์เต็มประเทศโดยเฉพาะสองเมืองใหญ่อย่าง ซิดนีย์และเมลเบิร์น ที่กระทบหนักกว่าใคร

... หนึ่งในนักลงทุนโดยอ้อมที่มักจะเป็นกองทุนต่างๆ เช่นกองทุนผู้เกษียณรายการ หรือกองทุนใหญ่ๆล้วนมีส่วนในการกระตุ้นตลาดฟองสบู่ใบนี้ด้วยในการไปซื้อหุ้นนักพัฒนาอสังหาเหล่านั้น และมักจะหลอกตัวเองว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์นั้นปลอดภัยไม่แตกง่ายๆ

... แต่ว่าตอนนี้ธนาคารเอกชนหลายแห่งได้ส่งสัญญาณในการป้องกันฟองสบู่แตกแล้ว เช่นขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อจะสกัดไม่ให้มีการปล่อยกู้ง่ายๆในด้านอสังหาริมทรัพย์อีกต่อไป รวมทั้ง การลงทุนด้านอื่นด้วย

... “อเมริกา” ตอนนี้พยายามจะขึ้นภาษีนักลงทุนอเมริกาที่ออกมาลงทุนในต่างประเทศเพื่อจะบีบให้เอาเงินไปลงทุนในประเทศแทน ตามนโยบายของ “ทรัมป์” ที่ต้องการปลุกให้อเมริกามีการสร้างงานและเศรษฐกิจดีอีกครั้ง ยิ่งจะเป็นการลดการไหลเวียนของเงินทั้งนักลงทุนและผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์จากอเมริกาในออสเตรเลีย น้อยลงไปอีก

... ขณะที่ “จีน” นั้นเริ่มมีการ “ปิดเขื่อนการเงิน” Capital Control ไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ไปแล้ว เงินจากจีนที่จะไปลงทุนสร้างบ้านคอนโดนขาย หรือเอาเงินไปซื้อเก็งกำไรในแดนจิงโจ้ก็จะน้อยลงไปอีกเช่นกัน เป็นการตอกย้ำให้การตกต่ำของตลาดบ้านที่พักอาศัยของออสเตรเลียหนักหนาลงไปอีก เพราะว่าตลาดอพาร์ทเม้นท์ในเมลเบิร์นนั้นคนจีนเป็นลูกค้ารายใหญ่ แต่การที่จีนปิดการไหลเงินออกนอก ยิ่งทำให้ขายไม่ได้ ต้องยอมลดราคาลงมาเพื่อจะขายให้ได้

... ขณะที่ “ปัจจัยภายใน” นั้น บางอย่างก็ไม่สอดคล้องกัน เช่น ขณะที่อัตราการเพิ่มขึ้นของราคาที่อยู่อาศัยในซิดนีย์พุ่งพรวดไปที่ 74% แต่อัตราการเพิ่มขึ้นของค่าแรงและรายได้ของประชากรที่ยังขึ้นอย่างช้าๆและต่ำมากแค่ 14% ที่ทำให้คนทำงานเงินเดือนยิ่งต้องเก็บเงินมากกว่าเดิม ในการที่จะมาในการเช่าหรือซื้อบ้านได้แต่ละหลัง เป็นภาระวิบากกรรมของชีวิต ( คล้ายๆประเทศไทยอัตราการเพิ่มขึ้นของราคาบ้าน กับ อัตราการเพิ่มขึ้นของเงินเดือนประชาชนไม่สอดคล้องกัน ตอนนี้คนไทยผ่อนบ้านกันเป็น 30 ปีขึ้นไปแล้ว ) ทำให้คนที่จะตั้งใจซื้อบ้านคอนโดก็น้อยลง สวนทางกับราคาบ้านที่แพงขึ้น ยิ่งทำให้การขายบ้านให้คนออสเตรเลียของ “ตลาดภายในประเทศ” เองยิ่งตกต่ำลงอีก

... ขณะที่ปัจจัยอื่นๆก็ล้วนซ้ำเติมการแตกของฟองสบู่อย่างมาก เช่น “อัตราการจ้างงานต่ำลง” คนตกงานมากขึ้น , “หนี้ครัวเรือน” ของตนออสเตรเลียก็ยังสูง ทำให้เงินออมต่ำ เงินที่จะมาซื้อมาเช่าที่พักอาศัยราคาแพงก็ยิ่งน้อยลงไป , รัฐถังแตกมีการเก็บเงินภาษีอากรต่างๆเพิ่มมากขึ้น ทำให้ชาวบ้านที่รายได้น้อยลงแต่กลับมีรายจ่ายมากขึ้น จากรัฐบาลผ่านการขึ้นภาษีอีก ปัจจัยต่างๆเหล่านั้นล้วนกระทืบซ้ำให้เกิดฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์หนักกว่าเดิม

... เมื่อทั้ง “ตลาดภายนอก” และ “ตลาดภายใน” ต่างก็ขายไม่ได้ ก็ยิ่งทำให้ภาพรวมของตลาดที่อยู่อาศัยของ “ออสเตรเลีย” ตกต่ำเป็นประวัติการณ์ ฟองสบู่อาจจะแตกในเร็ววัน และมีแนวโน้มจะกระทบไปทั่วย่านเอเชียแปซิฟิคด้วย

... อย่างแรกตลาดหุ้นหลายส่วนจะตกต่ำลงทันที เพราะราคาไม่ดี นักลงทุนถอนเงินลงทุนออกไปนอกประเทศ ไปลงทุนที่อื่นแทน การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศก็แทบจะไม่มี ตลาดจะซบเซาลงเรื่อยๆ ธุรกิจที่เชื่อมโยงกันจะรายได้จะหายไปตามเป็นเงาตามตัว คนจะมีเงินในกระเป๋าน้อยลง ประชาชนจะรู้สึกว่าตัวเองจนลง และจะมีผลกับการจับจ่ายใช้สอยในเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศทันที และเศรษฐกิจทั้งประเทศจะตกลงซบเซา หมดช่วงโปรโมชั่นแล้ว ต่อไปจะเป็น “เศรษฐกิจขาลง” ของ “ออสเตรเลีย”

Jeerachart Jongsomchai

https://www.youtube.com/watch?v=cqHRBNF1Wiw 
http://www.news.com.au/finance/economy/australian-economy/australia-six-weeks-from-a-housing-collapse-us-report-warns/news-story/866d2fdee41b1227ce654f66ed8d9837 
... http://www.theaustralian.com.au/business/opinion/robert-gottliebsen/the-disturbing-sign-lurking-past-the-housing-boom/news-story/e2ba6d934b4b71f41cf550cfb8942a6d 
... http://www.couriermail.com.au/business/economy/housing-and-debt-surge-sparks-concerns-but-for-many-its-deja-vu/news-story/3a8f5d6557a2242e932a0b977c983c47 

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"