นอนแบงก์โวยธปท. ลดเพดานดอกเบี้ยรายย่อย ผลักลูกค้ากลุ่มเสี่ยง-เปราะบาง ซบหนี้้นอกระบบ ที่ดอกสูงกว่า 10 เท่า บีบรายเล็ก-กลางสู้ไม่ไหว เหลือรายใหญ่ผูกขาดตลาด นโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
ที่จะออกประกาศมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยด้วยการปรับลดดอกเบี้ยลง 2-4% ทั้งบัตรเครดิต สินเชื่อบุคคลสินเชื่อเช่าซื้อ สินเชื่อจำนำทะเบียน เพื่อรองรับมาตรการช่วยเหลือรอบแรกที่สิ้นสุดในเดือนกันยายน เพราะวิตกว่า ลูกหนี้จะไม่สามารถผ่อนชำระได้ อ่านรายละเอียด "มาตรการช่วยลูกหนี้รายย่อย" เฟส 2 ลดดอกเบี้ยสินเชื่อบุคคล ฉบับเต็ม
มาตรการปรับลดเพดานดอกเบี้ยลง 2-4% แม้จะเป็นประโยชน์สำหรับลูกหนี้รายย่อย ทำให้ภาระผ่อนชำระหนี้ต่อเดือนลดลง แต่จะเป็นความเสี่ยงของสถาบันการเงิน โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าเปราะบางที่มีรายได้ตํ่ากว่า 30,000 บาท และสุ่มเสี่ยงจะเป็นหนี้เสีย เพราะสถาบันการเงินจะเข้มงวดมากขึ้นในการปล่อยกู้ ซึ่งในที่สุดจะผลักให้ลูกค้ากลุ่มนี้ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินในระบบได้ ต้องหันไปพึ่งพาเงินกู้นอกระบบแทน
แหล่งข่าวจากผู้ให้บริการสินเชื่อรายย่อย (นอนแบงก์)เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า ผู้ประกอบการไม่โต้แย้งธปท.ในการลดดอกเบี้ยลงมาอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ทำได้อันดับแรกคือ ตัดกลุ่มลูกค้าที่ทำแล้วไม่คุ้มออก เช่น กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเปราะบาง จะเป็นกลุ่มแรกที่ตัดทิ้ง เพราะไม่ทำกำไรอยู่แล้ว แต่ลูกค้าดีที่ทำกำไร ตรวจสอบเครดิตได้พวกนี้ ส่วนใหญ่จะแข่งขันแย่งชิงกันอยู่แล้ว
“เราต้องสนับสนุนนโยบายช่วยเหลือประชาชนของธปท.ในการปรับลดเพดานดอกเบี้ยลง ซึ่งธปท.ทำหน้าที่ถูกต้อง แต่อยากขอให้พิจารณาผู้ประกอบการและประชาชนอยู่ด้วยกันได้ โดยที่ประชาชนไม่ต้องถูกผลักออกไปกู้หนี้นอกระบบ”
ทั้งนี้เพราะผู้ประกอบการสินเชื่อนรายย่อยและสินเชื่อไม่มีหลักประกันมีหลายขนาด รายใหญ่พออยู่ได้ แต่รายเล็กจำนวนมากในท้องถิ่นและปล่อยกู้วงเงินไม่มาก ย่อมไม่สามารถจะสู้ต้นทุนทางการเงินได้ หากธปท.ปรับลดดอกเบี้ยลง 4%(คำนวณจาก 28% เหลือ 24%) ขณะที่ผู้ประกอบการนอนแบงก์รายกลางถึงเล็ก มีต้นทุนเงินกู้จากสถาบันการเงินตั้งแต่ 4.5-6% และล่าสุดลดลงมาอยู่ที่ 3.5-4.2%ต่อปี แต่ผู้ให้กู้มีพอร์ตลูกค้ารายย่อยในท้องถิ่นวงเงินกู้ไม่สูงมาก จะคิดดอกเบี้ยถูกกว่าดอกเบี้ยนอกระบบ
“ขอให้ธปท.ดูรายเล็กด้วย เพราะผู้ให้กู้รายเล็กมีต้นทุน ค่าบริหารจัดการพนักงานและสำนักงาน, ภาษี, ค่าติดตามหนี้, กันสำรองหนี้ตามมาตรฐาน TFRS9 ถ้าลดเพดานดอกเบี้ยลงมากต่อไปจะเหลือแต่รายใหญ่ผูกขาดตลาด ส่วนรายเล็กต้องปิดตัวเองไป และลูกค้าต้องหันไปใช้เงินกู้นอกระบบมากขึ้น”
ทั้งนี้ในทางปฎิบัติได้เสนอธปท.พิจารณาลดเพดานดอกเบี้ยลงตามวงเงิน โดยภาพรวมเสนอให้ลดเพดานดอกเบี้ยอยู่ที่ 26% และเสนอให้คิดดอกเบี้ยตามวงเงินปล่อยกู้ เช่น 100,000 บาทคิดดอกเบี้ย 24% หรือวงเงินกู้ 20,000 บาท คิดดอกเบี้ย 26% ต่อปี กรณีสินเชื่อจำนำทะเบียน ถ้าวงเงินให้กู้ตํ่า ควรอิงอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ที่ 36% แต่ผู้ให้จำนำทะเบียนขอลดเหลือ 26% หรือ 25%
นอกจากนั้น กรณีพักชำระหนี้ ภาคธุรกิจได้ให้ความช่วยเหลือลูกค้าอยู่แล้ว ปัจจุบันรอเงินกู้ดอกเบี้ยตํ่า (ซอฟต์โลน) จากธนาคาร ออมสิน ซึ่งยังไม่ได้รับ ทำให้การช่วยลูกค้าต้องรอกระบวนการซอฟต์โลนเข้ามา เพราะที่ผ่านมามีเพียงนอนแบงก์ 3-4 รายเท่านั้นที่ได้รับซอฟต์โลนจากธนาคารออมสิน
แหล่งข่าวกล่าวว่า ขณะนี้้ธุรกิจสินเชื่อแข่งขันสูงมาก ซึ่งลูกค้าสามารถเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยและเลือกให้บริการกับผู้ประกอบการ 5 อันดับในแต่ละประเภทธุรกิจอยู่แล้ว ซึ่งลูกค้าดี หนี้เสียตํ่า สถาบันการเงินจะคิดดอกเบี้ยในอัตรากว่า 10% เท่านั้นไม่เกี่ยวกับเพดาน จะคิดดอกเบี้ยสูงเฉพาะในกลุ่มลูกค้าที่มีความเสี่ยงสูง ไม่ว่าจะเป็นแม่ค้าในตลาด มอเตอร์ไซด์ เพราะกลุ่มนี้มักจะตามหาไม่เจอ ดังนั้นหากมีความเสี่ยงสูงเกิน ผู้ประกอบการจะปรับตัวไม่ปล่อยกู้ในกลุ่มนี้ด้วย
ที่ผ่านมา 4-6 สมาคม/ชมรมหารือกับธปท.อย่างต่อเนื่อง โดยลูกค้ากว่า 80% ไม่ได้รับผลกระทบ แต่ต่อไปคนที่หาสินเชื่อไม่ได้อยู่แล้วจะหาสินเชื่อยากขึ้น เพราะมาตรการลดเพดานดอกเบี้ยที่จะออกมาผลักให้ลูกค้ากลุ่มเปราะบางอยู่แล้วออกนอกระบบ ซึ่งดอกเบี้ยแตกต่างกัน 10 เท่า ที่สำคัญ เมื่อลดเพดานดอกเบี้ยผู้ประกอบการรายกลางและเล็กอยู่ไม่ได้ แต่จะเหลือรายใหญ่ผูกขาดในตลาด”
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการได้เสนอต่อธปท.กรณีปรับลดเพดานดอกเบี้ย ขอให้จำกัดเ)พาะลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากโควิดเท่านั้น ซึ่งมี 6.7 ล้านล้านบาท คิดเป็น 30% ของสินเชื่อรวม โดยในจำนวนนี้เป็นสินเชื่อรายย่อยมากที่สุดถึง 40% ที่เหลือเป็นรายใหญ่กับเอสเอ็มอี ซึ่งปีนี้ผู้ประกอบการเจอผลกระทบทั้งรายได้ที่ลดลงและหนี้เสียเพิ่มขึ้น ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างพยุงเอ็นพีแอลด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ พักชำระหนี้ แต่หลังจากสิ้นสุดมาตรการรอบแรก คาดว่าเอ็นพีแอลจะเพิ่มขึ้นทั้งระบบ 30%ในไตรมาส 3
เมืองไทย แคปปิตอล พร้อมลดดอกเบี้ยทันที
นายชูชาติ เพ็ชรอำไพ ประธานกรรมการ บริษัท เมืองไทย แคปปิตอล จำกัด(มหาชน)หรือ MTC กล่าวว่า บริษัทพร้อมที่จะปรับลดดอกเบี้ยตามนโยบายของธปท.เหลือ 19% แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยเดิมจะตํ่ากว่าเพดานที่ธปท.กำหนดอยู่แล้ว เฉลี่ย 21-22% แต่บริษัทได้รับเงินกู้ดอกเบี้ยตํ่า(ซอฟต์โลน)จากธนาคารออมสินมาแล้ว จึงสามารถนำมาช่วยลูกค้าในส่วนนี้ได้
ทั้งนี้ ธุรกิจสินเชื่อรายย่อยที่มีหลักประกันและไม่มีหลักประกัน รวม 16.03 ล้านบัญชี มีมูลค่า5.6 แสนล้านบาทโดยเป็นของนอนแบงก์12.77ล้านบัญชี มูลค่า3.33 แสนล้านบาท
ล่าสุดนายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธปท.ได้ออกระกาศห้ามธนาคารพาณิชย์งดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลเพื่อความมั่นคงของเงินกองทุนและห้ามซื้อหุ้นคืน
Source: ฐานเศรษฐกิจออนไลน์
เพิ่มเติม
- ข่าว ธปท. ฉบับที่ 33/2563 เรื่อง ธปท. ไขข้อข้องใจทำไมขอให้ธนาคารพาณิชย์งดจ่าย "เงินปันผลระหว่างกาล" และ "งดซื้อหุ้นคืน"
- ข่าว ธปท. ฉบับที่ 32/2563 เรื่อง มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ระยะที่ 2
------------------------------------------
Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you