วิกฤตหนี้อิตาลี วิกฤตใหม่ของยูโรโซน

อิตาลีประเทศในยูโรโซนที่มีปัญหาหนี้มานาน ถ้าใครยังไม่ลืม เมื่อครั้งที่วิกฤตหนี้ที่กรีซกำลังเดือดพล่าน อิตาลีก็ถูกจับตามองอยู่แล้วว่า อาจกลายเป็นจุดเกิดวิกฤตการณ์แห่งใหม่ของยูโรโซนขึ้นตามมา

ถ้ามีหนี้สูงแล้วการเมืองนิ่ง เศรษฐกิจขยายตัวได้ดี ก็ช่วยประคับประคองเอาตัวรอดจากวิกฤตได้ แต่สถานการณ์ของอิตาลีในยามนี้ตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง

อิตาลีเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยมาตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2018 ที่ผ่านมา ตั้งแต่เดือน ต.ค. จนถึงเดือน ธ.ค. จีดีพีโดยรวมของอิตาลีติดลบ 0.2% ต่อเนื่องจากการติดลบ 0.1% ในไตรมาสก่อนหน้า ระหว่างเดือน ก.ค.-ก.ย.

ประเดิมไตรมาสแรกขึ้นมาในปีนี้ ภาวะถดถอยยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่อง จีดีพี ติดลบต่ออีก 0.1% ทำให้รัฐบาลอิตาลีต้องออกมาปรับประมาณการเศรษฐกิจของประเทศในปีนี้เสียใหม่ โดยคาดว่าจะขยายตัวอยู่ที่ 0.2% ลดลงจากที่เคยคาดไว้เมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว ซึ่งประเมินว่าปีใหม่น่าจะขยายตัวได้ถึง 1%

กระทรวงการคลังอิตาลียังประกาศเพิ่มเป้าหมายการขาดดุลงบประมาณขึ้นไปเป็น 2.4% ของจีดีพี จากที่เดิมเคยตั้งเป้าไว้ว่าจะขาดดุลที่ 2.04%

แต่ที่ชวนให้เป็นกังวลมากที่สุด คือ ปริมาณหนี้สาธารณะ ข้อมูลของยูโร สแตท ระบุว่า หนี้ภาครัฐของอิตาลีขยายตัวเพิ่มเป็น 132.2% ของจีดีพีในปี 2018 หลังจากที่เคยอยู่ในระดับสูง 131.4% มาในปีก่อนหน้า เป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2

ทั้ง ๆ ที่เมื่อเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการยุโรป ของกลุ่มประเทศยูโรโซน คาดว่า ในปี 2018 หนี้ภาครัฐของอิตาลีจะอยู่ในระดับเพียงแค่ 131.1% ของจีดีพีเท่านั้น

ในครั้งนั้นยังไม่มีการเริ่มต้นขั้นตอนลงโทษระเบียบวินัยด้านการคลังต่ออิตาลี แต่หลังจากนั้นเรื่อยมา อิตาลีเริ่มขัดแย้งอย่างหนักกับทางคณะกรรมาธิการการคลังของสหภาพยุโรป (อียู)

การประเมินการดำเนินการตามข้อบังคับทางการคลังของอียู ซึ่งจะมีข้อบังคับที่รวมถึงการปรับลดหนี้อยู่ด้วย ครั้งต่อไปจะมีขึ้นในเดือน มิ.ย.นี้ โดยจะถือเอาปริมาณหนี้ ณ เดือน พ.ค.เป็นเกณฑ์ ร่วมกับรายงานแผนการดำเนินการด้านการคลังของอิตาลีในช่วง 3 ปีข้างหน้า

ปัญหาของอิตาลี หากเป็นกรณีของประเทศทั่วไปก็อาจจัดทำงบประมาณขาดดุลสูง ๆ เพิ่มการกู้ยืมมาเพื่อใช้กระตุ้นเศรษฐกิจ พร้อม ๆ กับการปรับลดค่าเงินของตัวเองเพื่อเพิ่มการส่งออก แต่การที่อิตาลีเป็นส่วนหนึ่งของยูโรโซน และใช้เงินสกุลยูโรร่วมกับอีกหลายประเทศ ทำให้ไม่เพียงต้องจำกัดการขาดดุลงบประมาณ ยังไม่สามารถปรับลดค่าเงินยูโรได้

จะออกจากยูโรโซน หันกลับไปใช้เงินลีราก็ไม่ได้ เหตุผลสำคัญก็คือ อิตาลี มี "พันธะ" ที่จำเป็นต้องเคลียริ่ง อยู่ในระบบธุรกรรมในรูปเงินยูโร ภายใต้ข้อกำหนดของธนาคารกลางแห่งยุโรป (อีซีบี) เกือบจะถึง 500,000 ล้านยูโรอยู่รอมร่อ ในทางเทคนิคแล้ว นี่คือเงินก้อนที่อิตาลีจำเป็นต้องชำระในทันที ถ้าหากต้องการออกจากยูโรโซน

ดังนั้น สถานการณ์จึงไม่เอื้อให้อิตาลีออกจากยูโรโซนอย่างที่ต้องการได้

นักวิเคราะห์หลายคนเห็นตรงกันว่า สถานการณ์ของอิตาลี คลับคล้าย "กรีซ" มากขึ้น และกำลังจะกลายเป็นวิกฤตการณ์ทางการเงินครั้งใหม่ของยูโรโซน เพราะหาทางออกยังไม่ได้

"แจ็ก อัลเลน" นักวิเคราะห์ของแคปิตอล อีโคโนมิกส์ระบุว่า สถานการณ์ของอิตาลีคล้ายกับกรีซก็จริง แต่จะเลวร้ายยิ่งกว่า เพราะหนี้สินของอิตาลีใหญ่โตมโหฬารกว่ามาก หมายความว่า จะยิ่ง กลายเป็นปัญหาในระบบของยูโรโซนโดยรวมได้มาก

ส่วน "นิโกลา โนบิเล" นักวิเคราะห์ของออกซ์ฟอร์ด อีโคโนมิกส์ ประจำ มิลาน ยืนยันว่า ปัญหาของอิตาลีเยียวยาได้ยากมาก ทั้งยังเป็นปัญหาใหญ่มาก เพราะใหญ่โตกว่ากรีซในหลาย ๆ ด้าน

ทำให้ยากที่จะหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อเนื่อง ที่ทำให้วิกฤตการณ์ในอิตาลีขยายวงออกไปสู่หลายประเทศในยูโรโซนได้ โดยกรณีของกรีซ วิกฤตจะจำกัดวงอยู่แค่ในประเทศ

คอลัมน์ ชีพจรเศรษฐกิจ: ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์

Source: ฐานเศรษฐกิจ

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

#forex #ลงทุน #pepperstone #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"