ความกังวลของเงินกู้มาจากเรื่องการชำระหนี้ เพราะไทยไม่มั่นใจว่าโครงการจะให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าไทยหวังที่จะใช้เงินกู้จากท้องถิ่นในโครงการนี้มากกว่า แต่คาดว่าไม่ช้าไทยอาจต้องยอมรับในข้อเสนอของธนาคาร CEXIM ของจีน
ที่ถึงแม้จะมีความกังวลว่าไทยจะตกอยู่ในกับดักหนี้หรือไม่
ในบันทึกความร่วมมือระหว่างจีน ลาว และไทย ซึ่งจะมีการลงนามในการประชุม Belt and Road Forum ในระหว่างวันพฤหัสถึงวันเสาร์นี้ ที่เกิดความร่วมมือโครงการรถไฟความเร็วสูง pan-Asia ที่จะเชื่อมตลาดเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านทางคุนหมิง ในยูนาน
ไทยได้เริ่มก่อสร้างเฟสแรกของโครงการไปแล้วที่จะเชื่อมภาคอิสานของไทยกับคุนหมิงผ่านทางลาว ..นี่เป็นเส้นทางขนส่งสินค้าจากจีนสู่เอเซียใต้ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion..GMS) ...ตลอดรวมถึงคาบสมุทรมลายู (Malay Peninsula)
แต่ในช่วงการเริ่มของโครงการ ก็มีความกังวลว่าประเทศทั้งสองในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้จะได้ประโยชน์สูงสุดจากโครงการนี้อย่างไร ตลอดถึงการบริหารหนี้กับปักกิ่งนี้อย่างไร
เมื่อเดือนมกราคม รัฐบาลไทยได้เปิดเผยข้อเสนอของธนาคาร CEXIM ที่เสนอเงินกู้ดอกเบี้ย 2.3% ซึ่งดีกว่าดอกเบี้ย 2.86% จากสถาบันการเงินในประเทศเอง
ไม่มีการประกาศถึงดีลกับธนาคารจีนในเรื่องนี้ สื่อท้องถิ่นมีรายงานว่ารัฐบาลไทยกำลังพิจารณารายละเอียดขั้นสุดท้ายของเงินกู้นี้ แต่ก็ยังปิดข่าวนี้ต่อสาธารณชน
ขณะนี้ไทยได้เริ่มก่อสร้างเฟสแรกของโครงการจากกรุงเทพถึงโคราช ระยะทาง 252 กม. โดยมีการลงทุนไปแล้ว 179,000 ล้านบาท
จากแหล่งข่าวกระทรวงการคลัง ..80% ของเงินกู้จะอยู่ในรูปเงินบาท โดยจีนจะมีการเทรนบุคคลกรของไทยทางด้านเทคโนฯ ในการดำเนินการระบบรถไฟความเร็วสูงนี้
เฟสแรกนี้ดำเนินการก่อสร้างมาตั้งแต่ปลายปี 2017 หลังจากที่ไทยไม่รับข้อเสนอด้านการเงินและการควบคุมโครงการจากทางจีนมาตลอด
ในเฟสที่สองที่จะต้องใช้เงิน 211,000 ล้านบาท สำหรับเส้นทาง 355 กม. ระหว่างโคราชถึงหนองคาย ..ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เงินกู้ต่างประเทศถึง 85% และมีแผนที่จะใช้งานได้ก่อนปี 2023
รวมค่าก่อสร้างทั้งโครงการรถไฟความเร็วสูงอยู่ที่ 390,000 ล้านบาท
ในลาว จีนเป็นฝ่ายลงทุนเองทั้งหมดรวมระยะทาง 409 กม. จากเวียงจันท์ถึงคุนหมิง โดยก่อสร้างก่อนไทยแล้วถึงหนึ่งปี โดยจะเปิดใช้ได้ในปี 2022
มีการโต้กันถึงเรื่องนี้ในประเทศไทย ว่าจะสามารถจัดการกับหนี้เงินกู้ต่างประเทศจำนวนมากนี้อย่างไร ตลอดถึงความคุ้มเมื่อเปิดดำเนินการไปแล้ว
รัฐบาลไทยสนับสนุนให้นี่เป็นเส้นทางที่สำคัญของประเทศ ในฐานะที่เป็นศูนย์กลางของ GMS ให้เป็นฮับการขนส่งและประตูสู่เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ของจีน
ไทยหวังว่านี่จะทำให้เส้นสายไหมทางทะเลของจีนสามารถเชื่อมต่อกับท่าเรือน้ำลึกที่แหลมฉบัง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Eastern Economic Corridor ของไทย
นักวิเคราะห์จากศูนย์วิจัยกสิกรไทย บอกว่านี่เป็นการท้าทายถึงความคุ้มค่า แต่มันก็ให้โอกาสทางอ้อมที่จะไม่หลุดจากแผน Belt & Road ของจีนไป
"ในมุมมองของจีน เส้นทางนี้จะให้ประโยชน์ในทางเทคโนฯและโครงสร้างพื้นฐาน แต่สำหรับไทยและลาวซึ่งมีพื้นที่น้อยกว่าจีนมาก เส้นทางนี้อาจไม่ผ่านบริเวณที่เป็นแหล่งผลิตที่มีประชากรหนาแน่นซึ่งในที่สุดแล้วก็อาจมีผลต่อการคมนาคมทางรถไฟในระยะยาว"
"แต่ก็ควรพิจารณาถึงผลประโยชน์ทางอ้อมไว้ด้วย รวมถึงการพัฒนาโลจิสติกส์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หมายถึงการค้าปลีก การก่อสร้าง เรียลเอสเตท การมีชุมชนใหม่และการจ้างงาน"
"ไทยยังมีเครดิตที่สามารถกระจายแหล่งเงินกู้ได้ไม่เหมือนลาวหรือประเทศอื่นๆในเอเซียกลาง ..เมื่อดูจากขนาดตลาดในประเทศแล้ว"
ผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่งให้ความเห็นว่ามีความเป็นไปได้น้อยที่เส้นทางนี้จะไม่มีกำไร ถึงแม้ว่าในพื้นที่จะไม่มีเส้นทางคมนาคมที่ดีที่จะเชื่อมกับเส้นทางรถไฟนี้ และรัฐบาลไทยก็เพิ่งมีการอนุมัติโครงการมอเตอร์เวย์ที่อยู้ใกล้เคียงกัน ซึ่งจะเป็นการแยกวิธีการคมนาคม ที่จะทำให้ลดจำนวนผู้โดยสารประจำของรถไฟความเร็วสูงนี้.....โครงการคมนาคมขนาดนี้ ย่อมมีการวางแผนที่ดีไว้แล้ว"
การเข้าร่วมใน BRI summit ครั้งแรกของไทยนี้จะเห็นได้ถึงการขับเคลื่อนความร่วมมือมากขึ้นของจีนกับอาเซียนผ่านทาง Master Plan on ASEAN Connectivity 2025 และ 2019-23 Acmecs master plan ที่เสนอโดยผู้นำไทย กัมพูชา ลาว เมียนม่าร์และเวียตนามเมื่อปีที่แล้ว
นายกฯประยุทธ จันทร์โอชาของไทย จะพบกับ ปธน.สีจิ้นผิง นายกฯ หลี่เคอะเฉียง ในการประชุมซัมมิทครั้งนี้ ประเทศไทยพลาดการประชุม BRI ครั้งแรกเมื่อปี 2017 เพราะรัฐบาลไทยยังไม่ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ BRI ในครั้งนั้น..
Cr.Sayan Rujiramora
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
#forex #ลงทุน #pepperstone #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you