"ธนาคารอินเดียโดนแฮคเงิน 1 ล้านดอลล่าร์ผ่านระบบโอนเงินSWIFT ที่อเมริกาสร้าง"

... เมื่อเดือนกุมภาพันธ์​ปี​ 2018​ ธนาคาร​ City Union ของ​"อินเดีย"​ ก็ถูกโจรไซเบอร์แฮคเงินไป​เกือบ​2 ล้านดอลล่าร์ระหว่างการโอนเงินผ่านระบบ​SWIFT​ ที่มีอเมริกาเป็นแกนนำ, โดนเงินถูกแฮคระหว่างการโอนเงินของสถาบันที่ได้รับมอบอำนาจให้โอน

​เพื่อโอนจ่ายไปให้ผู้กู้สามที่​ที่ดูไบ​ ตุรกีและจีน​ ทำให้ธนาคารสูญเสียเงินไปฟรีๆ​ไร้ร่องรอย

... และก่อนนั้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์​ปี 2016 ธนาคารกลางบังคลาเทศ​หรือ​ธนาคารแห่งชาติ, ก็โดน​"โจรไซเบอร์" แฮคเงินไปมากถึง​81 ล้านดอลล่าร์​ โดยมีการโอนจากธนาคารกลางอเมริกา​เฟด สาขานิวยอร์ค​ ไปที่ธนาคารแห่งหนึ่งในฟิลิปปินส์ แล้วส่งต่อไปฟอกที่คาสิโนแห่งในฟิลิปปินส์​ ผ่านระบบ​SWIFT​ ที่มีอเมริกาและเงิน​"ดอลลาร์" เป็นแกนนำ

... ข่าวว่า​ ​"โจรไซเบอร์" มีเป้าหมายในการขโมยเงินผ่านระบบการโอนเงินนานาชาติอย่าง​SWIFT​ มานานและเป้าหมายใหญ่คือธนาคารกลางของชาติต่างๆทั่วโลก​

... ด้วยเหตุนี้​ "จีน" ที่ก็เคยเจอกรณีนี้ จึงพยายามสร้างระบบการโอนเงินของตัวเองอย่าง​ CIPS หรือ​ Cross-Border Inter-Bank Payments System ขึ้นมาใช้แทน

...​ "โจรไซเบอร์" นอกจากปล้นเงินผ่านระบบ​SWIFT​ แล้ว​ยังข้ามไปป่วน​ Block chain ของเงินคริปโต และ​ ธนาคารออนไลน์ทั่วไปที่กำลังจะมาแทนธนาคารหน้าเคาน์เตอร์ด้วย

... "อนาคตการโอนจ่ายเงิน" เป็นเรื่องในคอมพิวเตอร์​อินเตอร์เน็ต​ออนไลน์​ ที่พวกโจรก็ตามไปรังควานล่วงหน้าเราไปแล้ว​ คงมีแต่ทองคำและที่ดิน, ปลูกข้าว, ทำสวน, ทำ​ร้านกาแฟ, เปิดร้านอาหาร​ร้านก๋วยเตี๋ยว, ส้มตำเท่านั้นที่ปลอดภัยจากโจรเหล่านี้

คลิก

คลิก

Cr.Jeerachart Jongsomchai

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"