ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สถาบันการเงินใหญ่ๆเริ่มที่จะซื้อทองคำกันอย่างเร่งร้อน

รัสเซียและจีนก็มีการนำเข้าอยู่ตลอดทุกๆเดือน ..จากข้อมูลของ World Gold Council ธนาคารกลางต่างๆ ซื้อทองคำเข้ารวมกันเฉพาะในปี 2018 ถึง 651.5 ตัน เพิ่ม 75% จากปีก่อนหน้า ..และยังมีฮังการี คาซัคสถานและอินเดียก็เพิ่มการถือครองเพิ่มขึ้นเช่นกัน

...ดีมานด์ทองคำของโลกเพิ่มขึ้น 4% ปีต่อปี จนถึง 4,345 ตัน ....(ชาร์ต)

Any Standard?

ทำไมแบ้งค์ชาติทั้งหลายถึงมาเร่งซื้อทองคำกันตอนนี้จนเรียกได้ว่ามากที่สุดนับแต่ปี 1971 เมื่อ ปธน.นิกสันยุติมาตรฐานทองคำ และหันไปหาเปโตรดอลล่าร์ และทำไมกร้าฟแสดงจำนวนหนี้ถึงได้สูงแบบทวีคูณนับแต่ปี 1971

เพราะทองคำเป็นหลักประกันความเสี่ยงของมูลค่าจากคู่ค้า ..ความตึงเครียดจากการเมืองโลกตอนนี้สร้างความเสี่ยงจนหลายประเทศไม่ต้องการหวังพึ่งสกุลเงินเฟียตที่ควบคุมโดยประเทศอื่น

ทุกคนรู้ดีว่า อำนาจของเงินเฟียตไม่ยั่งยืน และโลกนี้ก็กำลังจะพังจากการบริโภคเกินตัว ...มนุษย์โลภเกินไป ต้องการความเชื่อถือและมีมาตรฐานของตนเอง ...ความจริงแล้วมาตรฐานทองคำนี่แหละที่จะ re-engineer ความไม่สมดุลทั้งหลายที่เกิดจากเงินเฟียตทั่วทั้งโลก แต่ในทางการเมือง มาตรฐานทองคำไม่เป็นที่ต้องการ

แต่ทำไมธนาคารกลางทั้งหลายยังคงซื้อทองคำกันอยู่ล่ะ?

Basel Accords

แล้วเมือง Basel ..Switzerland เกี่ยวอะไรด้วยกับทองคำ ..ที่จริงมันเกี่ยวไปถึงการเงินโลกเลย เงินฟรังก์สวิสถือได้ว่าเป็นหนึ่งในเงินเฟียตที่แข็งแกร่งที่สุดในโลก ...Basel เป็นเมืองหนึ่งในสวิทเซอร์แลนด์ที่เป็นที่ตั้งของ Bank of International Settlements ..BIS.. (ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ) ซึ่งเป็นตัวแม่ของแบ้งค์ชาติและแบ้งค์ทั้งหลาย ที่สั่งหันซ้ายขวาได้เลย

มีรายละเอียดเล็กๆในกฏข้อหนึ่งในระบบการเงินโลกที่เปลี่ยนไป และเริ่มมีผลในปี 2019 นี้ เป็นเรื่องที่ไม่ค่อยมีการพูดถึงมาก แต่หลายคนในโลกการเงินคงเคยได้ยิน Basel Accords ..มันคือกฏระเบียบที่ BIS กำหนดถึงจำนวนทุนสำรองที่ต้องมีในบัญชีของธนาคารต่างๆ

คณะกรรมการเบเซิล ที่ควบคุมแบ้งค์ต่างๆมีการก่อตั้งในปี 1974 ..คณะกรรมการได้ออกข้อกำหนด Basel 1 เมื่อปี 1988 ซึ่งได้จัดประเมินลำดับความเสี่ยงของทรัพย์สินต่างๆ เป็น 5 ชั้น ต่างกันตั้งแต่ 0 - 100% ....พวกสัญญาจำนองบ้าน ถือเป็นระดับชั้นที่ 3 ..คือเสี่ยง 50% ..ส่วนพวกเรียลเอสเตทของภาคเอกชน โรงงานอุตสาหกรรม ตราสารหนี้ต่างๆ ถือเป็นทรัพย์สินที่ปลอดความเสี่ยง 100%. ..ตามกฏ ธนาคารต่างๆจะต้องถือทรัพย์สินเหล่านี้ไว้ไม่น้อยกว่า 8% ของทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงทั้งหมด

พอมาถึง Basel 2 ก็เริ่มมีการจัดเป็น 3 หลักการ คือกำหนดกองทุนขั้นต่ำ.. การกำกับดูแลจากทางการ.. และการกำกับดูแลโดยตลาด ...Basel 2 เป็นตัววางพื้นฐานข้อกำหนดความเสี่ยงของทรัพย์สิน ..และได้จัดวางให้ทองคำอยู่ในชั้น tier-3 ซึ่งเท่ากับมีความเสี่ยง 50% จากการประเมิน ..นั่นหมายความว่าธนาคารสามารถใช้ทองคำที่มีอยู่เป็นสำรองได้แค่ 50% ของมูลค่าตลาดเท่านั้น

แต่ใน Basel 3 ที่จะมีผลในสิ้นเดือนมีนาคมนี้แล้ว ..ทรัพย์สินที่ประเมินมีแค่ 2 ชั้น (tier) ทองคำถูกยกขึ้นมาเป็น tier-1 ซึ่งทุกธนาคารจะต้องปฏิบัติตาม ทองคำสามารถใช้เต็มมูลค่า 100% ในทุนสำรองได้เลย หรือเรียกว่าเป็นสินทรัพย์ชั้น tier-1 เทียบเท่าเงินสด ..ถ้าทุกธนาคารพร้อมใจทำให้ราคาสูงขึ้นก็เท่ากับทุนสำรองของตนก็สูงไปด้วย

ทองคำจะทำให้ทุนสำรองของธนาคารดูดีน่าเชื่อถือ ...สำหรับธนาคาร มันจะปลอดภัยกว่า ถ้าถือเป็นทองคำในเวลาที่อัตราดอกเบี้ยของเงินเฟียตอาจจะติดลบได้ ...จากกฏของ Basel 3 ที่จะมีผลในเดือนเมษายนนี้แล้ว จะเป็นเหตุผลหลักที่แบ้งค์ชาติและแบ้งค์ทั่วไปซื้อทองคำเพื่อเป็นประกันความเสี่ยงของตน

แล้วคนธรรมดาอย่างเราๆนี่ล่ะ ...ซื้อความเสี่ยงกันยังไงดี

Cheers,
Colin

Cr.Sayan Rujiramora

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"