คำถามที่ว่า ถ้าดอกเบี้ย ขึ้นและลงจะส่งผลให้ อัตราผลตอบแทนและ ความเสี่ยงของสินทรัพย์ หลักๆ สูงขึ้นหรือลดลงมากน้อยเพียงใด จะส่งผลเป็นเช่นไร เรื่องนี้ เครดิต สวิส ได้ทำการศึกษา 2 ช่วงเวลา ได้แก่ หนึ่ง ช่วงที่ธนาคารกลาง
ทำการขึ้นอัตราดอกเบี้ยแบบต่อเนื่อง และ สอง ช่วงที่ธนาคารกลางทำการลดอัตรา ดอกเบี้ยแบบต่อเนื่อง
การลงทุนหลังอัตราดอกเบี้ยขึ้น หมายถึง ซื้อสินทรัพย์หลังจากแบงก์ชาติ ประกาศขึ้นดอกเบี้ย (อาทิ ธปท.ประกาศ ขึ้นดอกเบี้ยรอบล่าสุด) ทำการลงทุนตราบเท่า ที่อัตราดอกเบี้ยยังขึ้นหรืออย่างน้อยก็คงที่ และทำการขายสินทรัพย์เมื่อแบงก์ชาติลด อัตราดอกเบี้ยครั้งแรก ส่วนการลงทุนหลังจาก อัตราดอกเบี้ยลดลงหมายถึงการซื้อสินทรัพย์ เมื่ออัตราดอกเบี้ยลดลง แล้วถือสินทรัพย์ ดังกล่าวจนกระทั่งอัตราดอกเบี้ยขึ้นครั้งถัดไป
จากการศึกษาข้อมูลสหรัฐ ระหว่าง ปี 1913 ถึงปี 2015 ตลาดสหรัฐอยู่ภายใต้ โหมดอัตราดอกเบี้ยขึ้นร้อยละ 44 ของ ช่วงเวลาทั้งหมด ส่วนอยู่ภายใต้โหมด อัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 56 ของช่วงเวลา ทั้งหมด ส่วนข้อมูลอังกฤษ ระหว่างปี 1930 ถึงปี 2015 อยู่ภายใต้โหมดอัตราดอกเบี้ยขึ้น 30% ของช่วงเวลาทั้งหมด ส่วนอยู่ภายใต้ โหมดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 70
ท้ายสุด ด้านค่าเงินดอลลาร์ พฤติกรรม จริงค่อนข้างที่จะค้านกับความรู้สึกที่ว่า เมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงค่าเงินดอลลาร์ควรจะ แข็งค่าส่วนช่วงอัตราดอกเบี้ยลดลงค่าเงิน ดอลลาร์ควรจะอ่อนค่าเนื่องจากในความ เป็นจริง ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าปีละ 1.7% ในช่วงนโยบายการเงินตึงตัวหรือขึ้นดอกเบี้ย ส่วนในช่วงที่นโยบายการเงินผ่อนคลาย ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าปีละร้อยละ 0.6 อาจจะเนื่องมาจากอัตราเงินเฟ้อ ที่สูงขึ้น หรือเศรษฐกิจสหรัฐที่แข็งแรงขึ้นในช่วง อัตราดอกเบี้ยลดลง
เช่นเดียวกับสหรัฐ อังกฤษก็มีรูปแบบ ของอัตราผลตอบแทนของตราสารทางการเงิน ต่างๆใกล้เคียงกับของสหรัฐอาทิในช่วง ดอกเบี้ยขาขึ้น ตลาดหุ้นอังกฤษให้ผล ตอบแทนเพียง 1.7% ส่วนในช่วงดอกเบี้ย ขาลงตลาดหุ้นอังกฤษให้ผลตอบแทน 8.2% ส่วนตราสารหนี้อังกฤษทั้งสองช่วงเวลาให้ผลตอบแทนใกล้เคียงกันอย่างไรก็ดีค่าเงินปอนด์แข็งค่าขึ้นโดยเฉลี่ย 1% ต่อปีในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้นและอ่อนตัวโดยเฉลี่ย 2.3% ต่อปีในช่วงดอกเบี้ยขาลง มาถึงโฟกัสของบทความนี้ นั่นคือ ความเสี่ยงในช่วงเวลาที่อัตราดอกเบี้ยขึ้น และลงเป็นเช่นไร ผ่านระดับการแกว่งตัว หรือความผันผวนของราคาสินทรัพย์ หลังอัตราดอกเบี้ยขึ้นและลง
คำถามที่น่าสนใจ คือ การที่อัตรา ผลตอบแทนของตราสารทุนและ ตราสารหนี้สูงขึ้น หลังจากอัตราดอกเบี้ย ลดลงเกิดจากความเสี่ยงที่สูงขึ้นหรือไม่
สิ่งที่น่าสังเกต คือ ระดับการแกว่งตัว ของราคาสินทรัพย์ โดยที่ระดับความผันผวน ของ ตราสารทุนในช่วงอัตราดอกเบี้ยขาลง สูงกว่าช่วงที่อัตราดอกเบี้ยขาขึ้นอยู่ 25% ในตลาดหุ้นสหรัฐและ 6% ในตลาดหุ้นอังกฤษ สำหรับตลาดตราสารหนี้ระดับความผันผวน ของตราสารหนี้สหรัฐในช่วงอัตราดอกเบี้ย ขาลงสูงกว่าช่วงที่อัตราดอกเบี้ยขาขึ้นอยู่ 9% และ 11% สำหรับในสหรัฐและอังกฤษ ตามลำดับ
ด้านขวามือ ของรูปที่ 2 แสดง อัตราส่วน Sharpe Ratio ซึ่งหมายถึง อัตราผลตอบแทนที่เป็นส่วนเกินกว่า อัตราผลตอบแทนปราศจากความเสี่ยง หรืออัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล ต่อหนึ่งหน่วยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยช่วงเวลาอัตราดอกเบี้ยขาลงค่า Sharpe Ratio ของตลาดหุ้นสหรัฐอยู่ที่ 0.45 เมื่อเทียบกับ 0.12 ในช่วงอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นจะเห็นได้ว่า ค่า Sharpe Ratio ช่วงดอกเบี้ย ขาลงยังสูงกว่าช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น แม้จะ มีความผันผวนของราคามากกว่าก็ตาม
ส่วนช่วงเวลาอัตราดอกเบี้ยขาลง ค่า Sharpe Ratio ของตลาดหุ้นอังกฤษอยู่ที่ 0.47 เมื่อเทียบกับ 0.00 ในช่วงอัตราดอกเบี้ย ขาขึ้น สำหรับตราสารหนี้สหรัฐ ช่วงเวลา อัตราดอกเบี้ยขาลง ค่า Sharpe Ratio อยู่ที่ 0.36 เมื่อเทียบกับ-0.01 ในช่วงอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น โดยที่ ค่า Sharpe Ratio ช่วงดอกเบี้ยขาลงยังสูงกว่า ช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น แม้จะมีความผันผวนของราคามากกว่าก็ตาม ส่วนช่วงเวลาอัตราดอกเบี้ยขาลง ค่า Sharpe Ratio ของตลาดตราสารหนี้ อังกฤษอยู่ที่ 0.20 เมื่อเทียบกับ 0.08 ในช่วงอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ซึ่งถือว่าสูสีกว่า ของตราสารหนี้สหรัฐ
โดยสรุปคือในเกือบทุกตลาด โดยทั่วไปแล้ว การลงทุนในช่วงขาลง แม้จะ เสี่ยงกว่า ทว่าได้ผลตอบแทนชดเชยความเสี่ยง สูงกว่าการลงทุนในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น
ในส่วนการลงทุนในเซกเตอร์ต่างๆ สรุปได้ ดังนี้
1. ช่วงเวลาที่เป็นอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น กลุ่มที่เป็นเซกเตอร์ Defensive อาทิ สาธารณูปโภค ไฟฟ้า/ประปา โทรคมนาคม พลังงาน อุปกรณ์สำหรับธุรกิจ และ Healthcare จะมีอัตราผลตอบแทนเป็นบวกเฉลี่ย
2. ช่วงเวลาที่เป็นอัตราดอกเบี้ยขาลง กลุ่มที่ เป็นเซกเตอร์ Cyclical อันประกอบด้วย เซกเตอร์การเงิน เคมี การค้าปลีกและค้าส่ง และสินค้าคงทน มีผลตอบแทนเป็นบวกเฉลี่ย
3. เซกเตอร์การค้าปลีกและค้าส่ง และ สินค้าคงทน มีความชัดเจนระหว่างอัตราดอกเบี้ย ขาขึ้นและขาลงที่เป็นลบและบวกอย่างชัดเจน โดยมีผลต่างที่ 5.1% และ 8.5% ตามลำดับ
4. ในช่วงเวลาที่เป็นอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น อัตราผลตอบแทนที่ก้าวกระโดดขึ้นจาก ช่วงขาลงมากที่สุดได้แก่สาธารณูปโภคไฟฟ้า/ประปาและโทรคมนาคม
คอลัมน์ มุมคิดธนกิจ: ผศ.ดร.บุญธรรม รจิตภิญโญเลิศ
Source: กรุงเทพธุรกิจ
Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
สนับสนุนข่าวโดย ICMarkets
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/