“สงครามการค้าระหว่างจีนกับอเมริกา” กำลังขยายตัวไปสู่สินค้าเฉพาะที่ผลิตยากมากขึ้น เช่นเครื่องบินพานิชย์ ที่ผ่านมานั้น เช่น สายการบินของจีน เป็นลูกค้าชั้นดีของ “โบอิ้ง” ค่าย “อเมริกา” มาตลอดกว่า 30 ปี
... เช่น ล่าสุดสายการบินเซี่ยเหมิน ของ “จีน” ที่มีฐานอยู่ตะวันออกเฉียงใต้ของจีน ที่มี บริษัทไชน่าเซาท์เทิร์นแอร์ไลน์, ที่เป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลจีน, เป็นเจ้าของหุ้นใหญ่ กำลังจะเจรจาซื้อเครื่องบินจากค่ายยุโรป “แอร์บัส” จากค่ายยุโรป ในระหว่างที่มีสงครามการค้าระหว่างจีนกับอเมริกา กำลังดุเดือด แทนโบอิ้ง ที่ในตอนแรก บางสายบอกว่าจะไม่กระทบกับสินค้าใหญ่ๆอย่างเครื่องบินพานิชย์ ที่จีนยังพึ่งพาตัวเองไม่ได้เต็มที่ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของทั้งฝ่ายจีนและยุโรปได้เจรจากันเมื่อเดือนที่ผ่านมาในกรุงปักกิ่ง โดยเซี่ยเหมินสนใจในรุ่น แอร์บัส321 ที่มีตัวที่ผอมยาว แต่แหล่งข่าวที่ไม่เปิดเผยชื่อก็บอกว่าเป็นแค่ช่วงระยะเริ่มต้นเท่านั้น ยังไม่มีการร่างแผนการสั่งซื้อใดๆ
... แต่ปีที่แล้วนั้น เซี่ยเหมินได้เปิดตัวเครื่องบินโบอิ้งใหม่รุ่น737 ที่เป็นคู่แข่งโดยตรงกับแอร์บัส320 ที่กำลังถูกจับตาว่าจะเป็นการดวลหมัดชุดใหญ่ของสงครามการค้าระหว่างของชาติมหาอำนาจ ในตอนนี้หุ้นของโอบิ้งตกลงที่ร้อยละ 0.3 ขณะที่หุ้นแอร์บัสตกลงร้อยละ 0.50 เช่นกัน ในระหว่างที่อเมริกาและทั่วโลกทั้งเอเชียยุโรปถูกตั้งกำแพงภาษีจากอเมริกาและตอบโต้กันไปมา
... การประชุมระหว่างแอร์บัสกับจีนนั้น เคยประชุมนอกรอบมาแล้วตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2018 นี้ และก็ค่อยๆมาเป็นระดับสูงเข้มข้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ซีอีโอของแอร์บัสมาด้วยตัวเอง แสดงถึงความตั้งใจเอาจริงของทั้งสองฝ่าย ไม่ใช่แค่การเล่นเกมต่อรองกัน โดยจะมีการรื้อฟื้นการเจรจาซื้อขายกันมูลค่ามากถึง 18,000 ล้านดอลล่าร์ ที่จีนเคยเป็นลูกค้ารายใหญ่ในอดีต แต่ก็ติดปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายที่จีนต้องเพิ่มมากขึ้นในการดูแลรักษา เพราะต้องมีสองแบบทั้งโบอิ้งและแอร์บัสที่มีระบบปฏิบัติการที่ต่างกัน ซึ่งจีนต้องการบริษัทลิสซิ่งในการเช่าซื้อมาช่วยเหลือเพื่อทำให้เป็นไปได้
... ในระหว่างปี 2007 – 2016 สิบปีที่ผ่านมานั้น ยักษ์ใหญ่สองบริษัทที่ครองตลาดเครื่องบินพานิชย์ของโลก โดยแอร์บัสได้รับการสั่งผลิต 9,975 และส่งมอบไปแล้ว 5,644 ลำ ขณะที่โบอิ้งนั้น 8,978 และจัดส่งไปแล้ว 5,618 ลำ
... สายการบินเซี่ยเหมิน ของ “จีน” นั้น เป็นลูกค้าหลักของโบอิ้งตั้งแต่ยุคแรกในช่วง 1980-1989 ตั้งแต่รุ่นโบอิ้ง737 จนถึง 787 ในปี 2015 รวมทั้งหมด 170 ลำแล้ว และปีที่ 2017 แล้วในการแสดงเครื่องบินที่ปารีส ฝรั่งเศส ทางเซี่ยเหมินก็เพิ่งสั่งซื้อเครื่องบินจากโบอิ้ง 737 แม๊กซ์ 10, จาก “อเมริกา” อีก รวมเป็นมีเครื่องทั้งหมด 280 ลำภายในทศวรรษนี้ หรือ 2019
... “จีน” นั้นวางแผนในการจะเป็น “ตลาดการบินที่ใหญ่ที่สุดในโลก” โดยกำลังสร้างสนามบินที่ใหญ่ที่สุดในโลก จึงมีการพัฒนาสร้างทั้งสนามบินและซื้อเครื่องบินมากมาย โดยเป็นลูกค้าเนื้อหอมที่ทั้งโบอิ้งและแอร์บัสพยายามแย่งแข่งกันจีบมาตลอด แต่ที่ผ่านมานั้นในภาพกว้างนั้น จีน จะแบ่งการซื้อออกเป็นสองส่วนแบ่งเค้กให้ทั้งสองบริษัท เพื่อจะให้การสร้างเครื่องบินนั้นเสร็จทันเวลาที่ต้องการ
... ที่ผ่านมานั้น สัดส่วนซื้อเครื่องบินของสายการบินทั้งหมดของจีนสามารถแบ่งผลประโยชน์ที่เกือบจะเท่ากันของทั้งสองเจ้า โดยจีนซื้อจากแอร์บัสเป็นจำนวนร้อยละ 45.7 ขณะที่ซื้อจากโบอิ้งมากกว่านิดหน่อยที่ร้อยละ 47.5 , แต่ถ้าจีนเลิกคบขายกับโบอิ้ง ก็จะเจอปัญหาต่อรองลดราคากับแอร์บัสได้ยากขึ้น
... คาดว่าการประชุมของผู้บริหารของ “แอร์บัส” กับ “จีน” อาจจะนำไปสู่การซื้อเครื่องบินพานิชย์ในทศวรรษหน้า 2020-2029 ที่กำลังจะมาถึง ที่นักวิจัยเรื่องนี้ของจีนคาดว่าจะเป็นแอร์บัสที่จะได้ใบสั่งมากกว่า
.
... A Chinese airline that’s been an exclusive operator of Boeing Co. jets for more than 30 years is in talks with Airbus SE on a potential plane purchase, amid growing trade tensions between Beijing and the U.S., according to people familiar with the matter.
... In the 10 years from 2007 to 2016, Airbus has received 9,985 orders while delivering 5,644, and Boeing has received 8,978 orders while delivering 5,718. In the midst of their intense competition, each company regularly accuses the other of receiving unfair state aid from their respective governments.
... The Asian power is likely to favor Airbus planes for future orders, according to Jin Wei, an aviation researcher at China Center for Information Industry Development, a state-backed think tank in Beijing.
Cr.Jeerachart Jongsomchai
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/