สถานะ เศรษฐกิจมหภาค ของไทย

ในการบริหารจัดการเศรษฐกิจให้ขยายตัวได้สูงสุดเต็มศักยภาพในระยะสั้นนั้น นักเศรษฐศาสตร์จะอาศัยทฤษฎีมหภาคที่เรียกกันว่า Keynesian Economics คือ การเติมอุปสงค์ในระยะสั้นให้เพียงพอกับการผลิต (อุปทาน) ในเศรษฐกิจ

จึงจะเป็นการบริหารจัดการด้านอุปสงค์ หรือ Demand Management โดยมีแนวคิดว่า ในระยะสั้นที่มีความไม่แน่นอนสูงนั้น อาจทำให้ผู้บริโภคและนักลงทุน ขาดความมั่นใจ
รัฐบาลจึงสมควรที่จะเข้ามาแทรกแซงและสร้างความมั่นใจให้กับเศรษฐกิจโดยรวม โดยการเข้ามากระตุ้นและเติมการบริโภคและการลงทุนให้เพียงพอ โดยการยอมขาดดุลงบประมาณ
กล่าวคือ รัฐบาลต้องยอมใช้จ่ายเกินตัวในปัจจุบันเพื่อให้จีดีพีขยายตัวในอนาคต อันจะทำให้รัฐบาลสามารถจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นในอนาคตได้ และสัดส่วนของหนี้สาธารณะต่อจีดีพีก็จะไม่เพิ่มขึ้นอีกด้วย
ที่สำคัญคือ จะเป็นการช่วยแก้ปัญหาของประชาชนที่ตกงานและธุรกิจที่ยอดขายสินค้าตกต่ำ ให้สามารถหลีกเลี่ยงความยากลำบากทางเศรษฐกิจที่เป็นปัญหาเฉพาะหน้า
ดังนั้น โดยปกติแล้ว เมื่อรัฐบาลนำเสนอแนวทางในการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยยอมขาดดุลงบประมาณมากขึ้น ก็มักจะมีการตอบรับที่ดีจากภาคธุระกิจและประชาชน
แต่ในเชิงของการมองเศรษฐกิจมหภาคนั้น จะต้องมีอย่างน้อย 4 คำถามที่ตามมาคือ
1.ปัจจุบันรัฐบาลขาดดุลงบประมาณมากเกินเหมาะสมแล้วหรือไม่ กล่าวคือการขาดดุลงบประมาณนั้นคิดเป็นสัดส่วนของจีดีพี และระดับหนี้สาธารณะต่อจีดีพีปัจจุบันนั้น ค่อนข้างจะสูงเกินไปหรือไม่
คำตอบคือการขาดดุลงบประมาณต่อปีเมื่อเปรียบเทียบกับจีดีพีที่ประมาณ 600,000-700,000 ล้านบาท หรือ 3.0-3.5% ของจีดีพีนั้น ค่อนข้างสูง แต่ระดับของหนี้สาธารณะต่อจีดีพีที่ประมาณ 62% ของจีดีพีนั้น ยังไม่สูงมากนัก
แปลว่า ปัจจัยนี้ ไม่น่าจะทำให้เกิดความเป็นห่วง (และทำให้การคาดการณ์ความเสี่ยงหรือ risk premium) เพิ่มขึ้น เกี่ยวกับประเด็นนี้มากนักในระยะสั้น (แต่ต้องไม่ทำบ่อย)
2.การใช้จ่ายของภาครัฐนั้น จะมุ่งเน้นการกระตุ้นการบริโภคหรือจะกระตุ้นการลงทุน ซึ่งแน่นอนว่าเสียงส่วนใหญ่คงอยากให้มุ่งเน้นการกระตุ้นการลงทุนที่ทำให้อุปสงค์ปัจจุบันเพิ่มขึ้นและอุปทานในอนาคตเพิ่มขึ้นด้วย
กล่าวคือ การกระตุ้นการลงทุนน่าจะช่วยทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจจะมีความยั่งยืนและต่อเนื่องมากกว่าการกระตุ้นการบริโภค
3.การใช้จ่ายของภาครัฐนั้น มีความคุ้มค่าและตรงเป้าเพียงใด
4.ความเหมาะสมของการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ เมื่อประเมินจากสภาวะการณ์ทางเศรษฐกิจมหภาคของประเทศ ณ ปัจจุบัน ซึ่งตรงนี้จะต้องขอนำเอาสมการทางเศรษฐกิจมาขยายความดังนี้
Y = E คือ C+I+G-T+X-M
แปลว่ารายได้ (Y) เท่ากับรายจ่าย (Expenditure หรือ E) ได้แก่ การใช้จ่ายเพื่อ การบริโภค ( C ) การลงทุน (I) การใช้จ่ายสุทธิของภาครัฐ (G-T) และการส่งออกสุทธิ (X-M) หากปรับสมการดังกล่าง ดังปรากฏข้างล่าง
แปลว่า Y-C หรือส่วนเกินของรายได้จากการบริโภค คือการออม (S) และหากการออมน้อยกว่าการลงทุน (I) ก็แปลว่าภาคเอกชนใช้จ่ายเกินตัว และหากภาครัฐก็ใช้จ่ายกินตัว (T<G) ทั้งประเทศก็จะใช้จ่ายเกินตัว แปลว่า ส่งออกสินค้าและบริการสุทธิก็จะติดลบ (X<M) กล่าวคือประเทศ ใช้จ่ายเกินตัว เห็นได้จากการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด
ประเทศไทยนั้น ภาครัฐใช้จ่ายเกินตัวอยู่นานแล้ว แต่เศรษฐกิจโดยรวม ไม่ได้ใช้จ่ายเกินตัวในช่วงปี 2014 ถึง 2020
เพราะในช่วงดังกล่าว ประเทศไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดมาโดยตลอดเป็นจำนวนมาก คือ เฉลี่ย 30,640 ล้านเหรียญต่อปีในช่วง 7 ปีดังกล่าว
แม้แต่ในปี 2020 ที่โควิดระบาดก็ยังเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเท่ากับ 20,930 ล้านเหรียญ แต่ในปี 2021 ไทยขาดดุล 10,650 ล้านเหรียญ และปี 2022 ขาดดุลอีก 14,710 ล้านเหรียญ ส่วนครึ่งแรกปีนี้ (2023) เกินดุลเพียง 1,600 ล้านเหรียญ และเดือนกรกฎาคมกลับมาขาดดุล 400 ล้านเหรียญ
แปลว่าเศรษฐกิจไทยในช่วง 2 ปีครึ่งที่ผ่านมา อุปสงค์สูงกว่าอุปทาน ประเทศโดยรวมใช้จ่ายพอดีตัว ใน 7 เดือนแรกของปีนี้ อุปสงค์ พอๆ กับอุปทาน
ดังนั้น หากกระตุ้นเศรษฐกิจให้อุปสงค์เพิ่มขึ้น ก็จะเสี่ยงกับการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งการขาดดุลเล็กน้อย และขาดดุลเพราะนำเข้าสินค้าทุน ก็จะเป็นสิ่งที่ดีสำหรับเศรษฐกิจ
เพราะการลงทุนที่เพิ่มขึ้นจะจ้างงานเพิ่มขึ้น และเพิ่มกำลังการผลิตในอนาคต รวมทั้งจะส่งออกสินค้าและบริการมากขึ้นด้วย อันจะไม่ทำให้การขาดดุลบัญชีในอนาคตเพิ่มขึ้น
แต่หากการขาดดุลงบประมาณที่เพิ่มขึ้น นำไปสู่การกระตุ้นการบริโภคเป็นหลัก ก็อาจทำให้เกิดการขาดดุลเพิ่มขึ้น ทั้งในส่วนของดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลงบประมาณ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องพึงระวังในยุคที่ดอกเบี้ยโลก (ที่กำหนดโดยสหรัฐอเมริกา) สูงถึง 5.5% ในขณะที่ดอกเบี้ยในประเทศไทยอยู่ที่ 2.25%
สภาวะดังกล่าวเพิ่มความเสี่ยงที่เงินบาทจะอ่อนค่าและเงินทุนจะไหลออก รวมทั้ง อาจเพิ่มความเสี่ยงที่เงินเฟ้อ จะปรับตัวขึ้นครับ.
คอลัมน์ เศรษฐศาสตร์+สุขภาพ
ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยภัทร
กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร
Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

คลิก

Cr.Bank’s Scholarship Students

-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact

230424 icm 100x33

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

XM

FCA, ASIC,IFSC,
CySec
1000 : 1 1 pips – Micro
1 pips – Standard

0 pips - Ultra low
$5 0.01 lots View Profile
Visit Website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"